การประเมินผลกระทบของโรงเรียนเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตข้าวของประเทศไทยด้วยวิธีการจับคู่และแบบจำลองผลต่างสองชั้น/Impact Assessment of Farmer Field School on Chemical Pesticide Use in Rice Production of Thailand using Propensity Score Mat

Authors

  • Sommai Udomwitid สมหมาย อุดมวิทิต
  • Suwanna Praneetvatakul สุวรรณา ประณีตวตกุล

Abstract

ในการเพาะปลูกข้าวของประเทศไทยได้มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชมา อย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีทางการเกษตรดังกล่าวในปริมาณที่มากและอย่างไม่ถูกต้องได้ส่งผล กระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นโยบายในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงมีความสำคัญ นโยบายหนึ่งในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ การดำเนินงานโครงการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเกษตรแบบให้เกษตรกรมีส่วนร่วม บทความนี้มุ่งประเมินผลกระทบของโรงเรียนเกษตรกรที่มีต่อการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช ข้อมูลรวบรวมจากเกษตรกร 3 กลุ่ม (กลุ่มเข้าร่วมโครงการ กลุ่มไม่เข้าร่วมโครงการ และกลุ่มควบคุม) ในปีการเพาะปลูก 2542/43, 2543/44 และ 2545/46 รวม 282 ตัวอย่างตลอด 3 ปีการเพาะปลูก โดยวิธีการจับคู่ค่าความโน้มเอียงเพื่อขจัดความเอนเอียงของการคัดเลือก เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ และนำผลการจับคู่เกษตรกรดังกล่าวมาวิเคราะห์โดยอาศัยแบบจำลองผลต่างสองชั้น ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการพืช และด้านโรคและแมลงศัตรูพืช สูงกว่าเกษตรกรที่มิได้เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนเกษตรกรสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรู พืชของเกษตรกร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น แนวทางในการส่งเสริมความรู้อย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรดังเช่นโครงการ โรงเรียนเกษตรกรจัดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลที่ควรพิจารณานำมาใช้ ประกอบร่วมกับนโยบายอื่นๆ ในการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้

Chemical pesticide inputs have been extensively applied in rice production in Thailand. However, misuse and over-application have resulted in negative impacts to human and environment. Policy aiming at reducing chemical pesticide use is vital. A policy related to the reduction in chemical pesticide use is the Farmer Field School project (FFS) in which farmers, participation play a key role. The main objective of the paper is to evaluate the impacts of FFS on pesticide reduction. Data are collected from 282 household samples in 3 groups of farmers (participants, non-participants and the control group) in 3 cropping years: 1999/2000, 2000/2001and 2002/2003. The analytical methods include propensity score matching and difference in difference model. The results show that knowledge on crop and pestmanagement of FFS participants is significantly higher than that of non-participants and the control group. Participation through FFS could help reduce the use of chemical pesticide in both short and long terms. Hence, supporting farmers’ participation through FFS in addition to other policies is an effective instrument in reducing chemical pesticideuse in Thailand.

Downloads

How to Cite

สมหมาย อุดมวิทิต S. U., & สุวรรณา ประณีตวตกุล S. P. (2015). การประเมินผลกระทบของโรงเรียนเกษตรกรต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตข้าวของประเทศไทยด้วยวิธีการจับคู่และแบบจำลองผลต่างสองชั้น/Impact Assessment of Farmer Field School on Chemical Pesticide Use in Rice Production of Thailand using Propensity Score Mat. JOURNAL OF ENVIRONMENTAL MANAGEMENT, 6(2). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29075

Issue

Section

บทความวิจัย Research