การศึกษาความเป็นไปได้ในการบำบัดคุณภาพน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมโดยใช้สาหร่ายสไปรูไลนา A Feasibility Study on Using Spirulina platensis for Litopenaeus vannamei Pond Effluent Treatment

ผู้แต่ง

  • Chonticha Suebwattanapongsakul ชลธิชา สืบวัฒนพงษกุล
  • Tawadchai Suppadit ธวัชชัย ศุภดิษฐ์
  • Wisakha Phoochinda วิสาขา ภู่จินดา
  • Pukkapong Poungsuk ภัคพงศ์ ปวงสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สาหร่าย สไปรูไลนาบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ในการศึกษาได้มีการใช้สาหร่ายสไปรูไลนาที่ปริมาณ 5 ระดับ ทำการเพาะเลี้ยงในห้องทดลองโดยใช้ระยะเวลา 0, 5, 10 และ 15 วัน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อทำการทดลองผ่านไป 5 วัน สาหร่ายได้ตายลงทั้งหมด การศึกษาสาเหตุการตายของสาหร่ายโดยนำน้ำทิ้งไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศ์กำลัง ขยายสูง สรุปได้ว่า การตายของสาหร่ายเกิดจากการถูกแพลงก์ตอนสัตว์กิน ส่วนการศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัด ผลปรากฏว่า การใช้สาหร่ายสไปรูไลนาบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งขาวสามารถบำบัดของแข็ง แขวนลอย ความเค็ม  ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียมได้ แต่ไม่สามารถบำบัดบีโอดี ฟอสฟอรัสรวม ไนเตรท แอมโมเนีย ไนโตรเจนรวม และความเป็นกรด – ด่างได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีความเป็นไปได้ในการนำสาหร่ายสไปรูไลนามาใช้ในการบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อ เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในสภาพธรรมชาติ ยกเว้นจะได้มีการกำจัดแพลงก์ตอนสัตว์ในน้ำทิ้งให้หมดไปก่อน

The paper was to study feasibility on using Spirulina platensis for Litopenaeus vannamei pond effluent treatment. In this study, 5 levels of biomass concentration were employed to explore treatment ability. The experiment was conducted under controlled light intensity and aeration, and the analyses were carried out before the cultivation of biomass and 0, 5, 10 and 15 days after the cultivation.  After 5 days of the experiment, the mortality of Spirulina platensis biomass was found which assumed that zooplanktons existing in the sampling consumed the biomass for food. From the study of 5 – day – treatment efficiency, the study found that Spirulina platensis could treat the Litopenaeus vannamei pond effluent in some parameters, namely in suspended solids, salinity, lead, mercury and cadmium, but failed in treating BOD, total phosphorus, nitrate, ammonia, total nitrogen and pH. However, Spirulina platensis itself had no potential for natural Litopenaeus vannamei pond effluent treatment; unless the appropriate methods for elimination of zooplanktons prior to treatment were applied.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research