แนวคิดภูมิภาคนิยมกับนโยบายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา กลุ่มประชาคมอาเซียน REGIONALISM AND POLICY OF NON-TRADITIONAL SECURITY IN ENVIRONMENT: CASE OF ASEAN COMMUNITY

แนวคิดภูมิภาคนิยมกับนโยบายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา กลุ่มประชาคมอาเซียน REGIONALISM AND POLICY OF NON-TRADITIONAL SECURITY IN ENVIRONMENT: CASE OF ASEAN COMMUNITY

ผู้แต่ง

  • Pannin Sumanasrethakula ภัณณิน สุมนะเศรษฐกุล
  • Kanokrat Yossakraib กนกรัตน์ ยศไกร
  • Methinee Phoovatisc เมธินี ภูวทิศ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jem.2018.14

คำสำคัญ:

ประชาคมอาเซียน, ความมั่นคงรูปแบบใหม่, สิ่งแวดล้อม, ภูมิภาคนิยม, ผลประโยชน์ส่วนภูมิภาค

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

แม้ว่าประชาคมอาเซียนจะมีความร่วมมือในเชิงนโยบายระดับภูมิภาคเพื่อนำไปสู่ภูมิภาคที่เป็นเอกภาพเดียวกัน ผ่านแนวคิดการส่งเสริมความเป็นภูมิภาคนิยมในบริบทประชาคมอาเซียน อย่างไรก็ตามเมื่อนำประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมมาศึกษาพบว่ายังคงมีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นในการวางนโยบายและดำเนินนโยบายไปปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิก โดยการให้ความสำคัญกับนโยบายทั้งประเด็นการส่งเสริมความเป็นภูมิภาคร่วมกันกับประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมยังคงทำให้แนวคิดภูมิภาคนิยมไม่สามารถเกิดขึ้นแบบเต็มรูปแบบได้ ซึ่งอาจมีพื้นฐานเรื่องความเหมือนและความต่างมาจากเหตุผลทางด้านภูมิสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการเมืองที่ผ่านมา ทำให้แนวคิดการส่งเสริมความเป็นภูมิภาคนิยม โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้านการป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเต็มรูปแบบ ถึงแม้ว่าแนวทางการส่งเสริมความเป็นภูมิภาคนิยมจะมีความแตกต่างกับประชาคมในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องการไม่แทรกแซงกิจกรรมทางการเมืองซึ่งกันและกันจะช่วยส่งผลให้ความตึงเครียดในภูมิภาคมีน้อยลง แต่อาจส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าต่อความร่วมมือในประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอย่างประเด็นเรื่องความมั่นคงได้ ข้อแตกต่างของการเกิดนโยบายส่งเสริมความเป็นภูมิภาคนิยมต่อประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม อาจถูกตีความเป็นลักษณะการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อนำไปสู่จุดหมายเดียวกัน ถึงแม้เป้าหมายหลักร่วมกันได้มีการบรรจุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนแล้วในเป้าหมายของประชาคมอาเซียน แต่กระนั้นยังคงมีความจำเป็นในการดำเนินนโยบายของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามที่ต้องการและลดทอนความเหลื่อมล้ำในการดำเนินนโยบายของแต่ละประเทศสมาชิกต่อไป

References

1. Chan-o-cha, P. (2007). Royal Thai Armed Forces and Non-Traditional Threat. Bangkok: Civic politics and Encouragement of democratic development Project [In Thai]. Bangkok: Kasetsart University Press.

2. Chantavanich, S. (2011). Qualitative Research Data Analysis [In Thai]. Bangkok: Chulalongkorn
University Press.

3. Department of Environment Quality Promotion. (n.d.). Drought [In Thai]. Retrieved July 10, 2018,
from https://local.environnet.in.th/formal_data2.php?id=72

4. Ministry of Foreign Affairs. (2010). ASEAN Political-Security Community Blueprint 2009 - 2015 [In
Thai]. Bangkok: PageMaker Publishing.

5. Pimonjinda, T. (2009). Super State Organization and International Organization: From Theory to
Comparative Case studies [In Thai]. Retrieved June 5, 2018, from https://www.midnightuniv.
org/midnighttext/000870.doc

6. Rachawong, B. (2018). Environmental Issues in ASEAN [In Thai]. Retrieved August 6, 2018, from
https://prezi.com/hdujdkwybin-/presentation/

7. Rungthipanon, O. (2014). Regionalism and ASEAN. Bangkok: Bureau of Academic Affairs
[In Thai]. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives Publishing.

8. Saranrom Institute of Foreign Affairs. (2017). ASEAN and Environment Cooperation and Sustainable
Development [In Thai]. Retrieved July 10, 2018, from https://www.aseanthai.net/ewt_
news.php?nid=7237&filename=index

9. Sumanasrethakul, P., Yossakrai, K., & Phoovatis, M. (2016). Research Project on Transformation
of Nationalism Promoting Policy towards Regionalism Promoting Policy in Asia, Case
Study: ASEAN Community [In Thai]. Bangkok: PK Copy Center.

10. Warathepphutthipong, T. (1993). Policy Evaluation: Efficiency, Effectiveness and Justice of Policy
[In Thai]. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-24

How to Cite

ภัณณิน สุมนะเศรษฐกุล P. S., กนกรัตน์ ยศไกร K. Y., & เมธินี ภูวทิศ M. P. (2018). แนวคิดภูมิภาคนิยมกับนโยบายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา กลุ่มประชาคมอาเซียน REGIONALISM AND POLICY OF NON-TRADITIONAL SECURITY IN ENVIRONMENT: CASE OF ASEAN COMMUNITY: แนวคิดภูมิภาคนิยมกับนโยบายด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ ด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา กลุ่มประชาคมอาเซียน REGIONALISM AND POLICY OF NON-TRADITIONAL SECURITY IN ENVIRONMENT: CASE OF ASEAN COMMUNITY. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 14(2), 112–127. https://doi.org/10.14456/jem.2018.14

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ Viewpoint