ผลของการใช้กิจกรรมการกระจ่างค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โครงการเกษตรเพื่อชีวิต

Main Article Content

สมพงษ์ บุญญา
มานพ แจ่มกระจ่าง

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการกระจ่างค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โครงการเกษตรเพื่อชีวิต โดยสมุ่ มาจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน ด้วยวิธีการแบบจับคู่ กลุ่มทดลองได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเอง เป็นเวลา 3 วัน ๆ ละ 4 กิจกรรม โดยใช้เวลาในการฝึกกิจกรรมละ 100 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยม การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม (Repeated Measures Designs: One Between Subjects Variable and One Within-Subjects Variable) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาที่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยมกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยม

ผลการศึกษาค้นพบว่า

1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับช่วงเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักศึกษาที่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยม มีค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยมในระยะหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักศึกษาที่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยม มีค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยมในระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักศึกษาที่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยม มีค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองในระยะหลังทดลองสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักศึกษาที่ได้รับการฝึกกิจกรรมการกระจ่างค่านิยมต่อการมีวินัยในตนเองในระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

The purpose of this research was to study the effects of the implementation of value clarification on self-discipline of students, college of Agriculture and Technology Agriculture for life project. The sample used in this study consisted of 30 first year students of certificate level, who were randomly selected and divided into two groups by using matched pair technique, 15 in the experimental group and another 15 in the control group. The experimental group were trained with the valve clarification activities on self-discipline for three days with four sessions per day, each session lasted 100 minutes. As for the control group they were not trained with such activities. Data collection was divided into three phases; pre-experiment, post-experiment, and follow-up. Repeated Measures Designs: One Between Subjects Variable and One Within-Subjects Variable was the statistical device employed to analysis the data in order to compare the scores on self-discipline of the students who were trained with the value clarification activities and of the ones who were not trained with such activities.

As the result of the study it was found that:

1. There was an interaction between the experimental method and the length of experimental time at the statistical significance of .05

2. The students who were trained with the value clarification activities were found on self-discipline higher than the ones who were not trained with such activities at the statistical significance of .05

3. During the follow-up period the students who were trained with the value clarification activities were found of having on self-discipline higher than the ones who were not trained with such activities at the statistical significance of .05

4. The students who were trained with the value clarification activities were found of having on self-discipline higher after the experiment than before the experiment at the statistical significance of .05

5. The students who were trained with the value clarification activities were found of having on self-discipline higher during the follow-up period than during the time before the experiment at the statistical significance of .05

Article Details

Section
Research Article