การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติ ยูนนาน ตามแนวการสอนแบบ ACTIVE Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Main Article Content

Yang Lizhou
ดร.วิมลรัตน์ จตุรานนท์
ดร.สุนทร บำเรอราช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมและศึกษาเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยพัฒนารูปแบบการสอนจากข้อมูลพื้นฐาน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การพัฒนารูปแบบการสอน หลักสูตรภาษาไทย แนวการสอนแบบ ACTIVE Reading ทฤษฎีการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประชากรได้แก่นักศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ และ 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการสอน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และศึกษาเจตคติที่มีต่อรูปแบบการสอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ได้รูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานตามแนวการสอนแบบ ACTIVE Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบได้แก่ หลักการจุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล โดยมีดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับเหมาะสมดีมาก (x= 3.79 SD = 0.36)

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการศึกษาเจตคติของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วย (x = 4.11 SD = 0.46)

Abstract

The purposes of this research were: to develop an instructional model for Thai language reading comprehension for students at Yunnan University of Nationalities; to compare the achievements between an experimental group who studied with the model and a control group; to study attitude of the students in the experimental group concerning the instructional model. The instructional model for Thai language reading comprehension was constructed by the analysis of the related documents and research findings that consisted of the theory of development instructional model, Thai language curriculum, ACTIVE Reading theory, theory of teaching Thai language as a second language, and cooperative learning principles. The subjects of this research were 62 students at the faculty of Southeast Asian and South Asian Languages and Culture, Yunnan University of Nationalities in the first semester of the academic year 2011. The research instruments consisted of 1) lesson plans through the developed model 2) Thai language reading comprehension measurement form 3) The attitude inventory toward the instructional model. The research procedure was divided into 2 phases which were 1) the development of instructional model 2) the implementation of the instructional model.

The findings of this research were as follows:

1. The instructional model for Thai language reading comprehension for students of Yunnan University of Nationalities based on ACTIVE Reading theory and cooperative learning principles was developed, it consisted of five major components: principles, objectives, contents, instructional processes, and evaluation with the degree of highly appropriate with the mean and standard deviation of 3.79 and 0.36 respectively.

2. The average scores of Thai language reading comprehension after learning through the developed model was higher than control group at .01 level of significance.

3. The attitude toward the instructional model of students was at the highly agree level at the mean and standard deviation of 4.11 and 0.46 respectively.

Article Details

Section
Research Article