การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริกับการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาทิตย์ สุจเสน
กมลนันท์ ชีวรัตนาโชติ
นิตยา ทัดเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้และความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ การบันทึกบัญชีครัวเรือน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีครัวเรือน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริกับการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริอยู่ในระดับปานกลาง มีการบันทึกบัญชีครัวเรือนเป็นครั้งคราวและมีความคิดเห็นระดับปานกลางเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีครัวเรือน  คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนพบว่ามี ความสัมพันธ์เชิงลบด้านเพศและประสบการณ์ฝึกอบรมส่งผลต่อการเรียนรู้และการเอื้ออารี การรับรู้ข่าวสารส่งผลต่อการลดรายจ่าย คุณลักษณะที่ส่งผลต่อการบันทึกบัญชีครัวเรือนพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบด้านเพศส่งผลต่อรายจ่ายและการเก็บออม  ระดับการศึกษาส่งผลต่อรายรับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2544). พื้นที่เป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
คณะกรรมการอำนวยการเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย. (2549). หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
ธรรญชนก นิลมณีและคณะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมแลสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
นิตยา คุ้มพงษ์และคณะ. (2556). ผลสัมฤทธิ์ของโครงการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.
นิธิ เอี่ยวศรีวงษ์ (2550). คนจนกับนโยบายการทำให้คนจนของรัฐ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา.
ประเวศ วะสี. (2550). เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : บีทีเอช เพรส.
ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 7(1): 20-28.
ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 7. (2550). เอกสารแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. เพชรบุรี : กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนา.
สุชาติ ประเสริฐรัฐสินธุ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคาย. (2550). รูปแบบส่งเสริมชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดหนองคาย. หนองคาย : สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
อำพน กิตติอำพล. (2544). เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บีทีเอช เพรส.