การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3; The Development of Information Program for Supplies Administration of Schools under the Office of Phitsanulok Primary Educational Service Ar

Main Article Content

สมจิตร รอดเรือง และคณะ Somjit Rodruang and Others

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ดังนี้  1) ออกแบบและสร้างโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา และ 2) ทดลองใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโปรแกรม  แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 6 คนจากโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า


          1. โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ด้านคือ 1) ด้านการวางแผนและกำหนดความต้องการพัสดุ 2) ด้านการจัดหาพัสดุ 3) ด้านการควบคุมพัสดุ 4) ด้านการเบิกจ่ายพัสดุ 5) ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ และ 6) ด้านการจำหน่ายพัสดุ โดยโปรแกรมสารสนเทศ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด (= 4.50, S.D.=0.22)


           2. โปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา มีประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.63, S.D. = 0.48) โดยด้านที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ด้านการวางแผนและกำหนดความต้องการพัสดุ อยู่ระดับมากที่สุด (=4.66, S.D. = 0.41) รองลงมาคือ ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ (=4.50, S.D. = 0.34) ด้านการจัดหาพัสดุ (=4.24, S.D. = 0.33) ด้านการจำหน่ายพัสดุ (=4.22, S.D. = 0.48) ตามลำดับ และด้านที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดคือ ด้านการควบคุมพัสดุและด้านการเบิกจ่ายพัสดุ (= 4.13, S.D. = 0.64)

Article Details

Section
Dissertations

References

กัญญา ปุโรทกานนท์. (2544). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และ พระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทองจำกัด.

จิราภา วิชาชาญ. (2550). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เขตภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

จีราภรณ์ รักษาแก้ว. (2553). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2545). การออกแบบและบริหารฐานข้อมูล (Database Design and Administration). กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุมาลี อริยะสม. (2552). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, นนทบุรี.

อำไพพร ประเสริฐสกุล. (2543). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Bar, M.,J., and Keating, L.,A. (1990). Introduction: Elements of program development. In M.J.Barr, L.A.Keating and Associates. Developing effective student services program. San Francisco: Jossey-Bass.

Boone, Edgar, J. (1992). Developing programmer in education. New Jersey: Prentice Hall.

Christopher, Janet Cale. (2003). Extent of Decision Support Information Technology Use by Principals in Virginia Public Schools and Factors Affecting Use. Dissertation. Abstracts International. 64(5): 1661-A; November. Endeavors?,” Masters Abstracts International. 41(02): 335-A; April.

Knowles, Malcolm S. (1980). The Modem Practice of Adult Education from Pedagogy to Andragogy. New York: The Adult Education Company.