การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ Development of Teachers’ Learning Management Abilities using Lesson Study through Professional Learning Community

Main Article Content

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ Chaiwat Sutthirat
วศินี รุ่งเรือง Wasinee Rungruang

Abstract

                This research aimed to; 1) Study knowledge and understanding in learning management of teachers 2) Study the learning management abilities of teachers using lesson study through professional learning community and 3) Study the opinions of teacher’s perception lesson study through professional learning community. The Data sources used of research were the teachers in Phoprathapchang School Pichit province total 20 person. The research tools were consisted of; 1) The knowledge and understanding test on the teacher's learning management. 2) The teacher's learning log, and 3) The teacher's questionnaire perception lesson study through professional learning community. The data was collected between October 2016 to September 2017. The analysis of data using percentage, mean, standard deviation and content analysis.


            The results revealed as follow: 1)The teachers had the highest level of knowledge and understanding about the learning management (83.67%). 2) The number of teachers had 100%. Promote the ability to manage learning. 3) Teachers were satisfied with the development of lesson study through the professional learning community at a high level (gif.latex?\bar{X}gif.latex?\bar{}= 3.46)


             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนเทศบาลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ของครู 2) แบบบันทึกการเรียนรู้ของครู และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


                 ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (ร้อยละ 83.67) 2) จำนวนครูร้อยละ 100 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดี 3) ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.46)  

Article Details

Section
Research Articles

References

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2560). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน: แนวคิดและแนวทางสู่ความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์, 45(1): 299-319.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557).โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการ, 25(1): 93-102.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551 ก). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สมใจ มณีวงษ์. (2556). การนำนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

อำนวยนาคทัต. (2542). การพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Lesson Study Group at Mills College. (2004). Development of instructional capacity through lesson study. Retrieved October 1, 2018, from http://www.lessonresearch.net/

McLaughlin, M.W. and Talbert, J.E. (2006). Building school-based teacher Learning communities: Professional strategies to improve student achievement (Vol.45). Teachers College Press.

Meyor, D. (2006). Lesson Study: The Effect on Teachers and Students in Urban Middle School. Baylor University.