การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3; The Development of Mathematics Project-Based Learning Activities Based on STEM E

Main Article Content

อนัญลักษณ์ ลีละศรชัย และคณะ Ananlak Leelasornchai and Others

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดย 2.1) เปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2.3) ศึกษาคุณภาพของโครงงาน 2.4) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จำนวน 43 คน มีแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวหรือรายกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินโครงงาน เน้นประเมินการคิดสร้างสรรค์และการทำโครงงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ดัชนีประสิทธิผล ค่า t – test แบบ One Sample และ Binomial Test และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


                      ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของการทำโครงงาน ขั้นที่ 2 กำหนดหัวข้อโครงงาน ขั้นที่ 3 วางแผนดำเนินการทำโครงงาน ขั้นที่ 4 ดำเนินการทำโครงงาน ขั้นที่ 5 นำเสนอโครงงาน และขั้นที่ 6 ประเมินโครงงาน มีความเหมาะสมในระดับมาก และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7004 2) ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา พบว่า 2.1) การคิดสร้างสรรค์หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.3) คุณภาพของโครงงานอยู่ในระดับดีมาก 2.4) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีดังนี้ ขั้นที่ 1 พบว่า ผู้เรียนเข้าใจขอบเขตของการทำโครงงาน ขั้นที่ 2 พบว่า ทุกกลุ่มหาสาเหตุได้และคิดแนวทางการแก้ปัญหาได้มากกว่า 1 แนวทาง ขั้นที่ 3 พบว่า ทุกกลุ่มร่วมกันวางแผนและออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหาได้หลายวิธี ขั้นที่ 4 พบว่า ทุกกลุ่มสร้างชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ นำไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และเขียนรายงานโครงงานตามรูปแบบได้ถูกต้อง ขั้นที่ 5 พบว่า ทุกกลุ่มนำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมและเข้าใจง่าย ขั้นที่ 6 พบว่า ส่วนใหญ่สามารถอธิบายความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการออกแบบและการทำโครงงานได้ครบทุกด้าน


                    The purposes of this research were 1) to create and find the effectiveness index of mathematics project-based learning activities based on STEM education, and 2) to study the results of using mathematics project-based learning activities based on STEM education.The sample was 43 students in 9 grade at Phitsanulok Pittayakom school with a cluster sampling by the unit of randomness is the classroom. The research design is One Shot Case Study. Research instruments were the mathematics project-based learning activities based on STEM education plans, the achievement test and the project assessment. The data were analyzed by t–test one sample, binomial test and content analysis.


                The results of this research found that: 1) The mathematics project-based learning activities based on STEM education have 6 steps were: (1) determine a scope of project, (2) determine a topic project, (3) planning a project, (4) working a project, (5) presents a project and (6) evaluate a project. The appropriateness was in a high level and the effectiveness index was 0.7004, and 2) The results of mathematics project-based learning activities based on STEM education were 2.1) The creative thinking after learning was higher than 70 percent criterion at the statistical significance .05 2.2) The learning achievement after learning was higher than 70 percent criterion at the statistical significance .05 2.3) The quality project was in a highest level 2.4) The results of learning activities were: step1; students understood a scope of project, step2; all groups thought problem solving in many ways, step3; all groups planned and designed a work piece in many methods, step4; all groups created a work piece, step5; all groups presented project by using information technology step6; students explained the knowledge of science, mathematics, and technology used in design and project work.

Article Details

Section
Dissertations

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุรัช แก้วแสนเมือง. (2544). ผลการสอนโดยใช้โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุพิน พิพิธกุล. (2550). โครงงานคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: แม็ค.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. นิตยสาร สสวท, 41(182), 15-20.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

_______. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.  

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558ก). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.

_______. (2558ข). สะเต็มศึกษา (ตอนที่ 2) : การบูรณาการสะเต็มศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(3), 154-160.

สุกัญญา เชื้อหลุบโพธิ์. (2561, มกราคม – เมษายน). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 119-132.

Han, S., et al. (2015). How science, technology, engineering, and mathematics (STEM) project-based learning
(PBL) affects high, middle, and low achievers differently: the impact of student factors on achievement. International Journal of Science and Mathematics Education, 13(5), 1089-1113.

Musa, F. (2012). Project-based learning (PjBL): inculcating soft skills in 21st century workplace. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2(59), 565-573.

Tseng, K.-H., et al. (2013). Attitudes towards science, technology, engineering and mathematics (STEM) in a project-based learning (PjBL) environment. International Journal of Technology and Design Education, 23(1), 87-102.