การส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายของชุมชนย่านมัทรีจังหวัดนครสวรรค์ The Promotion of Household Accounting Practice using Participatory Research to Change Spending Behavior of Yanmatsi community, Nakhonsawan

Main Article Content

ปราณี เนรมิตร Pranee Neramit

Abstract

                  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน และ4) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายและการจัดทำบัญชีครัวเรือนของชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ หัวหน้าครอบครัวหรือตัวแทนครัวเรือนของชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 107 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 คน รวมจำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีครัวเรือน  มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้จ่ายของชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์  และ 3) กรอบประเด็นในการกำกับติดตามการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายระดับครัวเรือนและการจัดทำบัญชีครัวเรือน  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression) และการทดสอบที (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า  1.ปัจจัยสนับสนุนการจัดทำบัญชีครัวเรือนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.83) โดยปัจจัยด้านการได้รับคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด(x=4.37)  2. สภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนอยู่ในระดับมาก (x=3.90)  โดยปัญหาด้านการขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และเห็นว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องน่าเบื่อมีค่าเฉลี่ยปัญหาสูงที่สุด (x=4.17) 3. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ในรูปคะแนนดิบ ได้แก่ ปัจจัยการสนับสนุนการจัดทำบัญชีครัวเรือน (X5) ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ = 0.298 + 0.298X 5. ชาวชุมชนย่านมัทรี จังหวัดนครสวรรค์ มีความสามารถในการวิเคราะห์รายรับ-รายจ่ายและการจัดทำบัญชีครัวเรือนหลังได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการจัดทำบัญชีครัวเรือนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01    


              The purposes of this research were 1) to study the factors that affected the household accounting behaviors. 2) to study the problems of the household accounting behaviors. 3) to study the factors that can predict the household accounting behaviors, and 4) to promote the income and expense account analytical ability and the household accounting practice using Participatory Research. The research samples were 107 head of the families or the family representatives; 1 each from 107 families in Yanmatsi community, Nakhonsawan. The research instruments were 1) questionnaire concerning the factors that affected the household accounting, as well as problems and obstacles in household accounting practice with 5 rating scale and open-ended questions with validity between 0.67-1.00. 2) questionnaire concerning the spending behavior of people in Yanmatsi community, Nakhonsawan with 5 rating scale and 3) monitoring framework in household's income and expense analyzation and household accounting. The data was collected by the researcher. The data from the questionnaire were analyzed using percentage, mean, standard deviation, multiple regression and t-test dependent.  The research results were as follow: 1) The factors supporting the household accounting overall are at the highest level (x=3.83). The most affecting factor with the highest percentage in encouraging the need to practice household accounting is receiving suggestion and advice regularly (x=4.37). 2) The problems found in household accounting practice are in high level (x=3.90) and the lack of understanding in household accounting practice and the boredom of household accounting practice are at the highest level. (x=4.17) 3) The factors that can predict the household accounting behaviors in Yanmatsi community, Nakhonsawan with raw score are factors that supporting household accounting practice (X5) which transform into the equation for prediction as= 0.298+0.298X5 4) The members of Yanmatsi community, Nakhonsawan have higher income and expense account analytical ability and do more household accounting than before participating in the activity with statistically significant at 0.01.

Article Details

Section
Research Articles

References

กมล สุดประเสริฐ. (2537). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.

ไชยา ทองต้อย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

ฐิตาภรณ์ คงดี, พิษณุ บุญนิยม, สมชาย ศรีพูลและชาญวิทย์ วัชรพุกก์. (2561). ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในการเลี้ยงสัตว์แบบบูรณาการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 47-58.

ประจักษ์ บุญอารี. (2551). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.วารสารบัวราชภัฏ, 14(มกราคม), 40-48.

ณัฐภัทร คำสิงห์วงษ์ และสุภาภรณ์ พวงชมพู. (2558). การวางแผนชำระหนี้ของเกษตรกรรายย่อยด้วยบัญชีครัวเรือนกรณีศึกษาลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 13-23.

พันธ์ทิพย์ รามสูตร. (2540). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัทรา เรื่องสินภิญญา. (2555). บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 20-28.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2561). การพัฒนาหน่วยหารเรียนรู้ท้องถิ่นแบบบูรณาการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 47-60.

ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุภัทรษร ทรีจันทร์. (2556). การบูรณาการบัญชีครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัยจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

อรทัย ดุษฎีดำเกิง. (2557).ทัศนคติในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

อรุณี อย่างธารา, อรสา วีระประดิษฐ์, ณัฏฐพร เหล่าธรรมทัศน์และวิภาดา ตันติประภา.(2554). การบัญชีการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารยา จึงไพบูลย์กิจ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1 (The 1st RUSNC 2016), 976-986.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. Melbourne: Deakin University Press.

William M. Pride, Robert J. Hughes, Jack R. Kapoo. (2013). Business.(12th ed.). South western: Cengage Learning.

Tois, H.L., & Carroll, S.J. (1982). Dictionary of Management. New York: John Wiley and Sons.