พุทธบูรณาการในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้เกษียณอายุราชการ

Main Article Content

อัจฉราวรรณ กันจินะ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการ        ในบริบทสังคมปัจจุบัน ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของ             ผู้เกษียณอายุ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์การบูรณาการหลักพุทธธรรม และเสนอแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้เกษียณอายุ โดยสัมภาษณ์ผู้เกษียณอายุราชการ ๑๐ ท่าน และ        ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล ๑๐๒ ท่าน ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลต่อผู้เกษียณอายุ ได้แก่ การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรม อิทธิพลของสื่อและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว และทัศนคติทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อผู้สูงอายุในสังคมไทย หลักพุทธธรรมที่เหมาะสม ได้แก่ หลักเบญจศีล สันโดษ อริยสัจ ๔ พรหมวิหาร ๔ โลกธรรม ๘ และไตรลักษณ์ เมื่อนำหลักพุทธธรรมมาใช้ ผู้เกษียณอายุมีมุมมองต่อการดำเนินชีวิตในระดับมากทุกรายการ โดยมีการน้อมนำมาปฏิบัติตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ และมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ปัจจุบันมากที่สุด แนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้เกษียณอายุราชการ ได้แก่ Do not LEAVE model เกษียณอายุแล้ว ต้องอย่าทิ้ง ๕ ข้อ คือ L = Let oneself on อย่าทิ้งการปล่อยวาง อย่ายึดติดลาภยศสรรเสริญ E = Excellent health  อย่าทิ้งการมีสุขภาพที่ดี ต้องออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ A = Activities อย่าทิ้งการมีกิจกรรม ต้องมีกิจกรรม มีสังคม เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้น V = Virtue อย่าทิ้งการมีศีลมีธรรม ในบั้นปลายควรหาโอกาสศึกษาธรรมะ และ E = Economical life อย่าทิ้งชีวิตที่พอเพียง ควรอยู่โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย