ตัวบ่งชี้ความสุของค์การสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

Manatsawee Srinont
Sataporn Canto
Poschanan Niramichainont

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุของค์การสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทย ๒) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลตัวบ่งชี้ความสุของค์การสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูล     เชิงประจักษ์ และ ๓) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้ระหว่างบุคลากร  สายวิชาการและสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย   จำนวน ๒,๗๑๑ รูป/คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งเป็นมาตรวัดแบบประเมินค่า ๕ ระดับ          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน ๔๘๐ รูป/คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีขั้นตอนและสุ่มแบบไม่ใส่คืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันอันดับที่ ๒ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ ใช้โปรแกรม MPLUS


ผลการวิจัย พบว่า ๑. ความสุของค์การสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทย มี ๓ องค์ประกอบ คือ ๑) องค์ประกอบด้านร่างกาย มี ๓ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (๑) กายภาวนา
(๒) ปราศจากโรค (๓) การพักผ่อนนอนหลับ  ๒) องค์ประกอบด้านจิตใจ มี ๓ ตัวบ่งชี้ ได้แก่
(๑) จิตภาวนา (๒) ไม่เครียด (๓) มีความสุข  และ ๓) องค์ประกอบด้านสังคม มี ๓ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (๑) สีลภาวนา (๒) การมีส่วนร่วมในชีวิตทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (๓) เสมอภาค ๒. โมเดลตัวบ่งชี้ความสุของค์การสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า = ๑.๙๖๖ ค่า RMSEA = ๐.๐๔๕ ค่า SRMR = ๐.๐๒๑ ค่า CFI = ๐.๙๙๐ และค่า TLI = ๐.๙๘๑ ๓. โมเดลตัวบ่งชี้ความสุของค์การสำหรับบุคลากรในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทยมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งประเทศไทยและมีความไม่แปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย