การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์: กรณีศึกษาวัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ชนาภัทร์ วงศ์โรจนภรณ์
รัตนา ปานเรียนแสน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์: กรณีศึกษาวัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (๑) ศึกษาความเชื่อพระเจ้า ๕ พระองค์ในวัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย และ (๒) ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์ของวัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูล เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๒ รูป/คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ในเชิงการพรรณนา มีผลการศึกษาวิจัยคือ


๑. วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณเวียงกาหลง ผู้เกี่ยวข้องกับวัดมีความเชื่อว่าเมืองโบราณเวียงกาหลงเป็นดินแดนพุทธภูมิ แม่กาเผือกและพระเจ้า ๕ พระองค์มีจริงตามตำนานพื้นบ้าน มีคติธรรมเรื่องความกตัญญู หลักไตรสิกขา หลักพรหมวิหาร และการบำเพ็ญบารมีพระโพธิสัตว์


๒. ปัจจัยนำเข้าที่วัดพระยอดขุนพลเวียงกาหลงนำวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์เป็นสื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา มี ๖ ข้อ ได้แก่ ๑) ด้านศรัทธาและความเชื่อของผู้ริเริ่ม ๒) ประวัติศาสตร์เมืองหรือที่ตั้ง ๓) คัมภีร์พระพุทธศาสนาและตำนานพื้นบ้าน ๔) วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน ๕) ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ ๖) เป้าหมายหลัก โดยวัดมีกระบวนการและผลผลิต ๖ ข้อ ได้แก่ ๑) การสร้างเรื่องเล่าให้เป็นเรื่องราว เกิดสื่อสัญลักษณ์และคำสอนที่เกี่ยวกับตำนาน ๒) จัดภูมิสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องและกลมกลืน เป็นเมืองวัฒนธรรมเวียงกาหลง ๓) ปรับคำสอนให้เข้าใจง่าย ได้แก่ กตัญญู เมตตา เสียสละ ๔) สร้างธรรมิกสังคม เกิดโรงเรียน โรงทาน โรงงานและโรงธรรม ๕) ผสานกิจกรรมรวมวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ากับคำสอน เป็นกิจกรรมสำคัญในวันประทีปธรรม และ ๖) สร้างจุดหมายร่วม เป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตตามวิถีของสังคมอุดมศีล ผลลัพธ์ที่ได้คือ ๑) สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องพระพุทธเจ้าเพิ่มขึ้น ๒) ได้แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใหม่ ๓) ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติ และ ๔) สร้างเสริมสังคมสันติสุข ได้องค์ความรู้การเผยแผ่แบบ WEE-KALONG MODEL

Article Details

บท
บทความวิจัย