การวิเคราะห์หลักไตรสิกขาในฐานะนวัตกรรมการศึกษา

Main Article Content

พระปิฎกโกศล ปราโมทย์ ปโมทิโต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องการวิเคราะห์หลักไตรสิกขาในฐานะนวัตกรรมการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องนวัตกรรมการศึกษาตามหลักไตรสิกขา และเพื่อวิเคราะห์หลักไตรสิกขาในฐานะนวัตกรรมการศึกษามีระเบียบวิธีวิจัยได้แก่เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเอกสาร โดยใช้วิธีการเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขา เป็นนวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “วิธีการสอนตามหลักไตรสิกขา” สาระสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนมี ๓ ประการคือ ๑) ศีล เป็นการฝึกฝนพัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ด้านกายและวาจา ๒) สมาธิ เป็นการฝึกด้านคุณธรรม และสมรรถภาพของจิต ๓) ปัญญา เป็นการฝึกให้เกิดความรู้ ความเข้าใจของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง


              การวิเคราะห์หลักไตรสิกขาในฐานะนวัตกรรมการศึกษาพบว่า วิธีการสอนตามหลักไตรสิกขา ประกอบไปด้วย ๔ ขั้นตอน คือ ๑) สร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิขึ้นก่อนซึ่งปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นมี  ๒ ประการ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ ๒) เกิดสัมมาทิฏฐิขึ้นในตัวผู้เรียน ๓) จัดกระบวนการศึกษาตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล ฝึกด้านความประพฤติปฏิบัติควบคุมกาย วาจา สมาธิฝึกด้านจิตใจ และปัญญาฝึกด้านความรู้ความจริงความมีเหตุผล รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต ๔) การวัดและประเมินผลตามหลักไตรสิกขาให้ครอบคลุมด้านกาย ศีล สมาธิ และปัญญา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย