การปรึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อสนับสนุนการบริการในระดับปฐมภูมิ: ความร่วมมือระหว่างแพทย์และพยาบาลเวชปฏิบัติ

Main Article Content

นงนุช โอบะ
วิไลพร โรจนรัตน์
อัญชลี ทองเสน
ศศิธร ชินรักษ์บำรุง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


               การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบสนองความต้องการบริการระดับปฐมภูมิที่เพิ่มมากขึ้น การวิจัยนี้มี 2 ขั้นตอน โดยตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาของพยาบาลเวชปฏิบัติที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคเบื้องต้น และตอนที่ 2 ศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะในการบริการระดับปฐมภูมิของพยาบาลเวชปฏิบัติ ขั้นตอนแรกใช้การรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วยที่มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคเบื้องต้นโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 400 แฟ้มและขั้นตอนที่ 2 ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบเก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วยและแนวสนทนากลุ่ม ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสื่อสารที่พยาบาลเวชปฏิบัติใช้เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคเบื้องต้นในระบบบริการปฐมภูมิมากที่สุดคือ โทรศัพท์ ขั้นตอนการรักษาโรคเบื้องต้นที่พยาบาลเวชปฏิบัติมีความจำเป็นต้องขอคำปรึกษาเป็นลำดับแรก คือ ด้านการซักประวัติและตรวจร่างกาย และหลังได้รับคำปรึกษาแล้ว พยาบาลเวชปฏิบัติดำเนินการวินิจฉัยโรคและให้การรักษามากที่สุด ผลการสนทนากลุ่ม พบว่า ความรู้และทักษะการบริการของพยาบาลเวชปฏิบัติที่ควรพัฒนาเพื่อการบริการในระดับปฐมภูมิให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ ด้านการรักษาโรคเบื้องต้น และด้านการดูแลในชุมชน


Abstract


                Curative services from hospitals alone cannot cope with the significant increase in demand for primary health care. This research had two steps. The first step attempted to identify the problems of nurse practitioners (NPs) who use teleconsultation in primary care settings. The second step sought to clarify the education and training needs of NPs in order to improve primary health care delivery. In step one, four hundred outpatient records were randomly selected for reviewing whereas in the second step, a focus group discussion among 19 stakeholders was conducted.  Research instruments included patient records review, and the focus group discussion guidelines, approved by 3 experts. Descriptive statistic applied to analyze data from the outpatient records included frequencies and percentage. In addition, a content analysis approach was used to analyze data from the focus group discussion.


                  The results from the outpatient records showed that the most commonly used teleconsultation by NPs at the primary care level was via telephone. The most common basic medical care obstacle that NP’s consulted was taking a health history and conducting physical examinations. After teleconsultation, the NPs could mostly decide diagnosis and treatment. The education and training needs of NPs at the primary care level involved basic medical care and community care. This data imply that NPs need basic medical care and community care knowledge and skills for improving their primary care delivery.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)