การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนในกิจกรรมการสอบสาธิตย้อนกลับกลไกการคลอด

Main Article Content

กนกอร ศรีสมพันธุ์
บังอร ศิริสกุลไพศาล
ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                   การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาล หรือให้การดูแลผู้รับบริการผู้สอนจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะในการปฏิบัติ และมีความมั่นใจมากขึ้นในการประยุกต์ใช้เมื่อพบสถานการณ์จริง  ดังนั้นการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลจึงใช้วิธีการสอนแบบสาธิตย้อนกลับเป็นส่วนมาก ซึ่งพบว่า เป็นวิธีการที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและปฏิบัติได้  วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน ช่วยเหลือกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน และมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น ดังเช่นในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 มีการเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอดปกติ  มีการประยุกต์ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนในกิจกรรมการสอบสาธิตย้อนกลับกลไกการคลอด เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเกิดทักษะในการหมุนทารกตามกลไกการคลอดได้ดีขึ้น มีคะแนนการสอบอยู่ในระดับที่ดีขึ้น  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของการคลอดและการช่วยหมุนศีรษะทารกระหว่าง ฝึกปฏิบัติการพยาบาลระยะคลอดในสถานการณ์จริงได้ และผู้เรียนมีความ พึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้อยู่ในระดับดี บทความนี้บรรยายกระบวนการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับการสอบสาธิตย้อนกลับ และยกตัวอย่างการนำไปใช้ในวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่ได้ผลดี ผู้สอนสามารถนำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาอื่นๆ ต่อไป


Abstract


                Teaching style regarding nursing practicum should enhance the learner’s understanding, skills and confidence. The learners can apply their experience in real situation. Therefore, in practicum for nursing students, return-demonstration technic is usually employed. The return-demonstration technic integrated with peer-assisted learning strategy is one of the methods that enables learners to help each other, to create good relationship between peer and can improve their learning outcome. In maternal and child subject, this learning method can be fruitful when integrated with return-demonstration about mechanism of labor, including head rotation, how to follow-up the progress of labor, and the procedure during laboring phase. This article outlines the process of peer-assisted learning strategy integrated with in return-demonstration exam. An example in using this technic in maternal and child nursing subject for third-year nursing students is described. The method showed that it could improve the exam scores of students. Teachers can apply this method in other subjects.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ