การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

Main Article Content

ปวิดา โพธิ์ทอง
สุพัตรา จันทร์สุวรรณ
สุนทรี ขะชาตย์
เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์

บทคัดย่อ

การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนหลัง  เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตโดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการพยาบาลและผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบวัดความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการพยาบาล และแบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test


ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นักศึกษามีความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการพยาบาลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 34.44, p = .000) และ 2) ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.23, SD = 0.37)


อาจารย์ควรนำรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1.Prombuasri P, Swangwatanasade O. Development of coaching instructor in 21stcentury. Journal of Health Science Research. 2017;11(1):110-21. (in Thai).

2.Office of the Higher Education Commission. Thai qualifications framework for higher education [Internet]. 2015[cited 2017 Sep 15]. Available from:http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/research/ 3_2558.PDF. (in Thai).

3.Klunklin A. Problem based learning innursing education. Chiang Mai:Pipnana;2010. (in Thai).

4.Kusol K, Somrak K, Thuethong C, HongsumT. Effects of problem-based learning to enhance learning outcome in accordance with Thai qualifications framework for higher education of nursing students in the subject of leadership and nursing management. Journal of Nursing and Education. 2017;10(3):39-55. (in Thai).

5.Department of Psychiatric Nursing Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi. Learning achievement in the nursing care of person with mental health problems. Suphanburi: Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi; 2017. (inThai).

6.Instructors in Praboromarajchanok Institute. Problem based learning-manual of teaching and learning. Nonthaburi: Yuktarin. 2015. (in Thai).

7.Schmidt HG. Problem-based learning: rationale and description. Med Educ. 1983;17(1):11-6.

8.Ackley BJ, Ladwig GB. Nursing diagnosis handbook: A guide to planning care. 7th ed. St.Louis: Mosby; 2006.

9.Srisaaug B. Primary research. 7th ed. Bangkok: Suriyasan; 2002. (in Thai).

10.Rideout E, Carpio B. The problem-based learning model of nursing education. In: Rideout KE, editor. Transforming nursing education through problem-based learning. London: Jones & Bartlett Publishing; 2001. p. 21-49.

11.Klunklin A, Subpaiboongid P, Keitlertnapha P, Viseskul N, Turale S. Thai nursing students’adaption to problem-based learning: A qualitative study. Nurse Education in Practice. 2011;11(6):370-374.

12.Johnson DW, Johnson RT, Holubec EJ. Cooperation in the classroom. 6th ed. Edina, MN: Interaction Book;1993.

13.Watson G, Glaser M. Watson-Glaser critical thinking appraisal manual. New York: Harcourt, Brace and World;1980.

14.Piaget J. Intellectual evaluation from adolescence to adulthood. Hum Dev. 1972;15(1):1–12.