การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของพยาบาลในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบ ที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ Development of an adult learning model for nurses reqarding prevention of ventilator-associated pneumonia

Main Article Content

Yupawan Thongtanunam

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี ้มีวัตถุประสงค์เพื ่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่สำหรับพยาบาลในการป้องกันการติดเชื ้อปอดอักเสบที ่สัมพันธ์กับการใช้เครื ่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพทั ้งหมดของหอผู้ป่วยที ่ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากอุบัติการณ์ เกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใส่เครื่องช่วยหายใจสูงที่สุดของโรงพยาบาลปทุมธานี จำนวน 54 คน รูปแบบการเรียนรู้พัฒนามาจากการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ที่อธิบายลักษณะของการเรียนรู้ 6 แบบ ได้แก่ ต้องการรู้ประโยชน์ของการเรียนรู้ ต้องมีแรงจูงใจในการเรียน เรียนรู้จากปัญหา พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งที่นำไปใช้ได้จริง ประสบการณ์ของผู้เรียนมีผลต่อการเรียนรู้และต้องการอิสระในการเรียนรู้จากผลการวิจัยทำให้ได้นวัตกรรมการจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งประกอบไปด้วย (1) สร้างบรรยากาศกระตุ้นการเรียนรู้ มีความรู้สึกเป็นกันเองระหว่างผู้เรียนและกับผู้สอน
(2) สร้างความตระหนักการเรียนรู้โดยการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ
(3) ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และความต้องการเรียนรู้ (4) ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (5) กำาหนดการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบของผู้เรียนและผู้สอน (6) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผน ได้แก่ การให้ความรู้ VAP ในรูปแบบ Rally รวมทั้งสาธิตและสาธิตย้อนกลับการปฏิบัติจนผ่านการประเมินและการให้คำแนะนำขณะปฏิบัติ (Coaching) และ (7) การให้ข้อมูลย้อนกลับและสะท้อนคิดการปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ ซึ ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที ่นำไปสู่การปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้และพบว่าภายหลังการใช้รูปแบบที ่พัฒนาขึ ้นอุบัติการณ์การติดเชื ้อปอดอักเสบจากการใช้เครื ่องช่วยหายใจลดลงจาก3.50 เป็น 3.46 และ 3.34 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่เครื่องช่วยหายใจตามลำดับ

Abstract
The objective of this participatory action research was to develop an adult learning model for nurses reqarding ventilator-associated pneumonia (VAP) prevention. Participants were 54 nurses purposively selected from wards in Pathumthani hospital, high incidence of VAP. The learning model was developed based on six characteristics of adult learner, including need to know, motivation to learn, orientation to learn, readiness to learn, learner’s experience and self-concept. 

The findings demonstrated 7 important components of the model including (1) set up learning climate, (2) raising awareness by involving in problemand cause analysis, (3) determining objective and need of learning by learner, (4) encouraging participation
in learning activity design, (5) determining participation and responsibility of learner and instructor, (6) Implementation including providing knowledge regarding VAP via rally and demonstration - return demonstration, and (7) feedback and reflection.

Additionally, the incidence of VAP decreased during 3 years from 3.50 to 3.46 and 3.34 per 1,000 ventilator-days after applying this model to practice.Based on this study, providing appropriate learning style for adult learners encouraged self-directed learning and help to apply the acquired knowledge to the practice.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ