ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์ที่รับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Main Article Content

จิตตระการ ศุกร์ดี
ดร.ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยทางระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบจับคู่นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุ
เหล็กในสตรีตั้งครรภ์ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตบริการสุขภาพที่ 2 กลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ที่มีค่าฮีมาโตรคริต
ครั้งที่ 2 น้อยกว่าร้อยละ 33 จำนวน 148 ราย กลุ่มควบคุม ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ที่มีค่าฮีมาโตรคริตครั้งที่ 2 มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ
33 จำนวน 148 ราย และมีอายุใกล้เคียงกับกลุ่มศึกษา สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม หรือโรคโลหิตจางทางพันธุกรรม
จะถูกคัดออกจากการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ถดถอย
พหุโลจิสติกแบบมีเงื่อนไข
ผลการศึกษา พบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มีเจตคติเกี่ยวกับการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี
ผ่านการคลอด 1 ครั้ง ขึ้นไป ฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้ง และได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมระดับน้อยถึงปานกลาง
ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์ ผู้ให้บริการฝากครรภ์ควรรณรงค์ให้ความรู้แก่สตรีใน
ขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้เกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง รวมทั้งควรพัฒนากลยุทธ์ให้สตรีตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์
และเปิดโอกาสให้ครอบครัว ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กด้วย


Abstract
This analytical matched case-control study aimed to determine factors affecting iron deficiency anemia among pregnant women receiving antenatal care at sub-district health promoting hospital regional health 2.Cases were 148 pregnant women who had 2nd follow-up with hematocrit value < 33%. Controls were 148 pregnant women with similar ages who had 2nd follow-up hematocrit value ≥ 33%. Pregnancies with medical complications and anemia related to genetic disorder were excluded. Descriptive statistic and conditional logistic regression analysis were used to analyze data.


Results showed that attitude of taking iron tablets and self-care during Iron deficiency anemia
pregnancies was not appropriate. Factors affecting iron deficiency anemia included pregnant under the age of 20, multiparity, number of antenatal care less than 5 times and received low or moderate social support.To overcome iron deficiency anemia in pregnancy, health education should be promoted to raise awareness and self-care during pregnancy period.In addition, strategies to improve continuation of antenatal care schedule and to encourage social support from family and community should be developed.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ