การศึกษาประสบการณ์การคืนสู่สุขภาวะของผู้ที่อยู่กับโรคไบโพลาร์

Main Article Content

สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย
สมรัก ชูวานิชวงศ์
เครือวัลย์ เที่ยงธรรม
วิไลพร ขำวงษ์
เพียรชนันท์ ลีอุดมวงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การคืนสู่สุขภาวะของผู้ที่อยู่กับโรคไบโพลาร์และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาชมรมเพื่อนไบโพลาร์ อาสาสมัครวิจัยมีจำนวน 8 คน ซึ่งอยู่กับโรคไบโพลาร์นานที่สุด 20 ปี น้อยที่สุด 6 ปี เป็นสมาชิกชมรมเพื่อนไบโพลาร์นานที่สุด 10 ปี น้อยที่สุด 2 ปี ไม่มีอาการทางจิต มีประสบการณ์การกลับไปใช้ชีวิตได้ในครอบครัว ชุมชนและทำงานได้ตามปกติ   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 45-90 นาที ห่างกันครั้งละ 4-5 สัปดาห์      การสัมภาษณ์ครั้งที่  2 เพื่อสัมภาษณ์เพิ่มเติม และให้อาสาสมัครยืนยันผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ครั้งที่ 1


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่อยู่กับโรคไบโพลาร์มีประสบการณ์ทางบวกต่อการร่วมกิจกรรมของชมรมฯ จากการที่ชมรมฯ ดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการให้บริการที่มุ่งการคืนสู่สุขภาวะ (Recovery Oriented Service) ทำให้ผู้ที่อยู่กับโรคไบโพลาร์เกิดประสบการณ์การฟื้นคืนสู่สุขภาวะใน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านสติปัญญา ด้านสังคม ด้านจิตวิญญาณ ด้านหน้าที่การงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านร่างกาย    ด้านอารมณ์ และด้านการเงิน นอกจากนี้ผู้ที่อยู่กับโรคไบโพลาร์ยังได้เสนอแนวทางการพัฒนาชมรมฯ คือ ควรดำเนินงานให้ผู้ที่อยู่กับโรคไบโพลาร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริการ ประสานและส่งต่อ จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ควรสนับสนุนให้มีชมรมฯ สมาคม ที่สนับสนุนการคืนสู่สุขภาวะให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วย และครอบครัวมีทางเลือกในการรับบริการที่ดีมากขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. Davidson L. On rights and strength for recovery: Principle. Peuan Rak Sukkapabjid. 2014;14(56):6-9. (in Thai).

2. Abu Bakar AK. Recovery in practice: What does it mean? Peuan Rak Sukkapabjid. 2014; 14(54):41-2. (in Thai).

3. Stratford A. Recovery. Peuan Rak Sukkapabjid. 2014; 14(55):6-11. (in Thai).

4. de Koning D. Couple group therapy: Recognizing people’s rights as a factor in recovery. Peuan Rak Sukkapabjid. 2014; 14(57): 26-8. (in Thai).

5. Sittirak N. Psychiatry. Bangkok: Mahidol University. 2015. (in Thai).

6. van Manen M. Researching lived experience: Human science for an action sensitive pedagogy. London: Althouse; 1990.

7. The Excellent Center for Service Development. The practice guidelines for recovery-oriented behavioral health care. Srithanya Hospital. n.p. (in Thai).

8. Substance Abuse and Mental Health Services Administration (SAMHSA). Eight dimensions of wellness [Internet]. 20 [cited 2017 Oct 28]; Available from https://prevention.nd.gov/files/pdf/ parentsleadforprof/8%20Dimensions%20of%20Wellness.pdf.