ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพครอบครัว การเล่นกีฬา กับความฉลาด ทางอารมณ์ ในนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

อภิสรา โสมทัศน์
ธีรชัย นิลรัตน์คำ
ลลิตวดี คำตุ้ย
วรรษา บุตรน้ำเพชร
ศิรประภา ฮาดสม
ภัทธกร บุบผัน
อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพครอบครัว การเล่นกีฬากับความฉลาดทางอารมณ์ในนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนคริสตสงเคราะห์ อำเภอองครักษ์  จังหวัดนครนายก จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการเล่นกีฬา และ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอายุ 6-11 ปี ฉบับย่อ ของกรมสุขภาพจิต ประเมินโดยครูประจำชั้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีความคุ้นเคยกับเด็ก 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์


      ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่มีสถานภาพครอบครัวอยู่ด้วยกันและแยกกันอยู่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  และการเล่นกีฬามีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)


      สรุปผลได้ว่าการเล่นกีฬาเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กนักเรียน แต่สถานภาพครอบครัวไม่มีผลต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Department of Mental Health, Ministry of Public Health. The development of Thai Emotional Intelligence Screening Test for ages 3 to 5 and 6 to 11. Nonthaburi: Department of Mental Health; 2002. (in Thai).

2. Wacharasin C, Khamngoen R, Sriprasan C, Chivanon N. Association between family factors and emotional intelligence of 6-11 year old children. Journal of Health Science Research. 2017;11(1):12-22. (in Thai).

3. Punnitamai V. Emotional quotient (EQ): Indicators for happiness and success of life. Bangkok: Expernet; 2000. (in Thai).

4. Ministry of Social Development and Human Security. Registration of divorce statistic [Internet]. 2016 [cited 2016 Jul 21]; Available from: https://www.m-society.go.th/ewt_ news. php?nid=18789

5. Goleman D. Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books; 1998.

6. Noumkomnung B. A comparative of emotional quotient between sport team player and single sport player at Rajamangala University of Technology Lanna Chiang Rai Campus. [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2003. (in Thai).

7. Siriprasert J. Physical education and importance in elementary school level. Journal of Education. 1995;10(1):61-82. (in Thai).

8. Piliyapoen T. Necessary and importance of physical education and quality of life development: a manufacturer. Journal of Faculty of Physical Education. 1998;1(1-2):20-3 (in Thai).

9. Srinuan C. Emotional intelligence of grade six students in schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission in Bangkok Metropolis [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2007. (in Thai).

10. Kuna-apisit V. Importance and necessity of physical education and sport and quality of life. Journal of Exercise & Sport Science. 1997;1(1):1-7. (in Thai).

11. Prayoonkiat K. The effects of physical education learning management in flag football on emotional intelligence of elementary school student base on Goleman’s concept. Online Journal of Education. 2012;7(1):1391-404. (in Thai).