อนาคตภาพของการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในบริบทประชาคมอาเซียน

Main Article Content

ไพรวัลย์ โคตรตะ
สุวิมล โพธิ์กลิ่น
อภิชัย กรมเมือง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในบริบทประชาคมอาเซียนด้วยระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 22 คน การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในบริบทประชาคมอาเซียนและสร้างเครื่องมือวิจัยระยะที่ 2 ศึกษาอนาคตภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในบริบทประชาคมอาเซียนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและ 2) แบบสอบถามเป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยควอไทล์ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)


ผลการวิจัย พบว่าอนาคตภาพที่เป็นไปได้ในการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิในบริบทประชาคมอาเซียน มี 9 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านแนวคิดทฤษฎีการจัดการศึกษาพยาบาล 2) ด้านหลักการจัดการศึกษาพยาบาล 3) ด้านปรัชญาของหลักสูตร 4) ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 5) ด้านเนื้อหาของหลักสูตร 6) ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอน 7) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน 8) ด้านคุณลักษณะของนักศึกษาพยาบาลที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 และ 9) ด้านการประเมินผลหลักสูตร


Abstract       


This research aimed to study a scenario of education management of undergraduate nursing curricula in the context of the ASEAN Community by using EDFR (Ethnographic Delphi Future Research). The samples used in the research reflected the findings of 22 experts concerned with the educational management. The study was divided into two phases. Phase one dealt with the current status and phase two examined a scenario of an educational management of undergraduate nursing curricula. Research instruments consisted of a semi-structured interview and a five-rating scale questionnaire. Descriptive Statistics were used to analyze sample characteristics, including median, mode, and interquartile range. Qualitative data were assessed by using content analysis.


The research found that the possible scenario of an education management of undergraduate nursing curriculum consisted of nine aspects: 1) concepts and theories on nursing education, 2) principles of nursing education, 3) philosophy of the curriculum, 4) objectives of the curriculum, 5) content of the curriculum, 6) instructional process, 7) instructional support, 8) desirable characteristics of the twenty-first century students and 9) a curricular evaluation.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)