การจัดกลุ่มปัญหาในงานด้านเวชศาสตร์การบริการโลหิตเพื่อการจัดการความเสี่ยง

Authors

  • นวพรรณ จารุรักษ์ National Blood Centre, Thai Red Cross Society
  • พิมล เชี่ยวศิลป์ National Blood Centre, Thai Red Cross Society

Keywords:

ISO 22367-Risk Management-Risk Classification

Abstract

บทคัดย่อ

ความเป็นมา  ปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อเกิดจากความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในงานบริการเวชศาสตร์การบริการโลหิตนั้น มีสาเหตุจากสิ่งต่างๆ ได้มากมาย และแม้จะมีการจัดการแก้ไขแล้ว ความผิดพลาดและปัญหาเดิมๆ ก็ยังอาจเกิดขึ้นซ้ำอีก เนื่องจากสาเหตุหรือต้นตอยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ  วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาแนวทางการจัดกลุ่มปัญหาให้เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 22367  วัสดุและวิธีการ  ทำการวิเคราะห์ข้อมูล คำร้องเรียนภายใน ภายนอก และอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) ซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 213 เรื่อง ความเสี่ยงเหล่านี้ได้รับการวิเคราะห์แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ 1) ด้านความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบและที่มีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบต่อผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง  2)  ด้านผลกระทบจำเพาะที่มีต่อผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง 3) ด้านผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยง  4) ด้านกระบวนการที่เกิดความเสี่ยง  5) ด้านการป้องกัน และสุดท้ายสรุปด้วยแนวทางในการแก้ไขป้องกัน  ผลการศึกษา ผลการศึกษานี้สะท้อนว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ส่วนใหญ่ก่อให้เกิดผลกระทบที่มีความรุนแรงต่ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการปฏิบัติงานของฝ่ายห้องปฏิบัติการโดยตรงร้อยละ 54.9 โดยเกิดขึ้นในกระบวนการก่อนการวิเคราะห์สูงถึง ร้อยละ 71.8 ซึ่งสูงกว่ากระบวนการอื่นๆ ความเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มป้องกันได้ โดยการปรับปรุงวิธีการทำงานหรือเพิ่มความระมัดระวังร้อยละ 45.1 หรือ เป็นกลุ่มที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ โดยใช้ทรัพยากรไม่มาก คิดเป็นร้อยละ 33.3 การแก้ไขส่วนใหญ่ทำได้ด้วยการอบรมเพิ่มความรู้ ประมาณร้อยละ 59.6 เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง  อย่างไรก็ตามพบว่า ความผิดพลาดจากความประมาทยังมีอยู่สูงประมาณร้อยละ 33.8 และเกิดจากความคลาดเคลื่อนของระบบ information technology (IT) ร้อยละ 6.6 และควรปรับแก้โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน   สรุป  ผลการศึกษานี้แสดงว่าการใช้แนวทางการจัดกลุ่มปัญหาให้เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 22367 นั้น สามารถนำมาใช้เพื่อจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างมีทิศทาง การแบ่งกลุ่มปัญหาเป็น 5 กลุ่ม ทำให้แลเห็นลักษณะปัญหาได้ชัดเจนขึ้น อันสามารถนำมาใช้ในการจัดการปัญหาได้ อย่างไรก็ตามการจัดการนี้จะมีประสิทธิภาพเพียงใด ยังสมควรจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อติดตามผลการแก้ไข

Abstract:

Background: Problems and risks that create errors in transfusion medicine services may occur from several issues. Besides doing corrective actions, recurrent risks due to ineffective management of root cause must also be addressed.  Objective: To study the appropriate risk management in accordance to ISO 22367.  Materials and Methods: A retrospective descriptive study was done on a total of 213 internal and external complaints, and occurrence that occurred at National Blood Centre (NBC), Thai Red Cross Society (TRCS) during January to December 2018. These 213 risks are categorized into 5 categories, 1) actual and potential adverse events; 2) specific and potential impacts on customer services; 3) responsibility for incident; 4) phase of laboratory testing; 5) preventability and finally conclude for corrective and preventive actions.  Results: From this study we found that most of risks that occurred at NBC, TRCS have low adverse effect. Most of risks occurred under laboratory responsibility (54.9%), at pre-analytical processes (71.8%). Most of risks are preventable by minor work process adjustment or just personnel attention improvement (45.1%). Some can be prevented with additional of a few resources (33.3%). The risks can mostly be corrected and prevented by refresh training (59.6%). A few risks are on information technology (IT) issues (6.6%); human error, however, is still a major problem (33.8%) – both of which can be solved by supporting technology. Conclusion: This study demonstrated that categorize risk appropriately in accordance with ISO 22567 should be applied to improve risk solving. These five categories support the risk management; however the effectiveness of this management should be studied further and have follow up.

References

1. National Blood Centre, Thai Red Cross Society. National blood policy. Bangkok: Udom Suksa; 2010.
2. National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Standards for blood banks and transfusion services. 1st ed. Samutprakarn: Tonmai; 2005.
3. International Organization for Standardization. ISO 9001:2015. Quality management systems – requirements. Geneva: Published in Switzerland; 2015.
4. International Organization for Standardization. ISO 15189:2012. Medical laboratories – requirements for quality and competence. Geneva: Published in Switzerland; 2012.
5. Guide to Good Manufacturing Practice for Medicinal Products, Pharmaceutical Inspection Convention Scheme (PICS); 2009.
6. World Marrow Donor Association WMDA International Standards For Unrelated Haematopoietic Stem Cell Donor Registries. WMDA Standards 20170101-BCST-WMDA Standards 2017. Effective January 1, 2017.
7. International Organization for Standardization. ISO/TS 22367:2008. Medical laboratories – reduction of error through risk management and continual. Geneva: Published in Switzerland; 2008.
8. Astion ML, Shojania KG, Hamill TR, Kim S, Ng VL. Classifying laboratory incident reports to identify problems that jeopardize patient safety. Am J Clin Path. 2003;120:18-26.
9. Boone DJ, Steindel SD, Herron R, Howanitz PJ, Bachner P, Meier F, et al. Transfusion medicine monitoring practices. Arch Pathol Lab Med. 1995;119:999-1006.
10. Bonini P, Plebani M, Ceriotti F, Rubboli F. Errors in laboratory medicine. Clin Chem. 2002;48:691-8.
11. Shojania KG, Wald H, Gross R. Understanding medical error and improving patient safety in the inpatient setting. Med Clin North Am. 2002;86: 847-67.
12. Reason JT. Human Error. New York: Cambridge University Press; 1990.

Downloads

Published

2019-12-17

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article)