การพัฒนาความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อรกัญญา พูลสุข
บุญจันทร์ สีสันต์
กฤษณา คิดดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังไกลกังวล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 41 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 10 ชั่วโมง ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Randomized Control Group Pretest - Posttest Design        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพของแบบฝึกทักษะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ สำหรับผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของแบบฝึก 2) แบบฝึกทักษะทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทย 3) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทดสอบสถิติที (t-test) ชนิด Dependent Samples


ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยมีประสิทธิภาพ 86.31/80.83 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยมีความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังการใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. 2554. การใช้ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[2] เอมอร ชิตตะโสภณ. 2549. ภาษาพูด ภาษาเขียน. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง.

[3] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.

[4] ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. 2549. การสอนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

[5] ถวัลย์ มาศจรัส. 2550. นวัตกรรมการศึกษาชุดแบบฝึกหัด-แบบฝึกเสริมทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมและ พัฒนาการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย (สพกท).

[6] ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), น.11-12.

[7] ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. 2554. การเตรียมเพื่อการพูดและการเขียน. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษา ตะวันตก มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[8] สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. 2553. หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

[9] สิริมาศ ราชภักดี. 2550. ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนโดยใช้แบบเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และเทคนิค TGT เรื่อง เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ช่างไม้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีเพศต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสารคาม.

[10] มาณี ดุสิตา พรรณี ลีกิจวัฒนะ และพีระวุฒิ สุวรรณจันทร์. 2555. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์สำหรับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง หลักการแก้ปัญหากับภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 11(1), น.59-67.

[11] อรรณพา รัตนวิจารณ์. 2542. รายงานการวิจัยเรื่อง การสร้างแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัดชนะสงคราม.

[12] ชาติชาย ทนะขว้าง. 2551. การพัฒนาแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าวังผาวิทยาคม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. สารนิพนธ์ (กศ.ม) การมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

[13] ปาริชาติ สุขประเสริฐ. 2536. การเปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการใช้กิจกรรมตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม.) ภาควิชาการ มัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.