เปรียบเทียบประสิทธิภาพการสกัดสารโรทีโนนจากรากหางไหลโดยใช้สนามไฟฟ้าพัลส์

ผู้แต่ง

  • สุรกานต์ ตาตัน
  • อรุณ โสตถิกุล

คำสำคัญ:

รากหางไหล, สารสกัดจากรากหางไหล, โรทีโนน, สนามไฟฟ้าพัลส์

บทคัดย่อ

การผลิตรากหางไหลด้วยวิธีการปลูกแบบไร้ดิน สามารถให้ปริมาณผลผลิตรากสดถึง 136.17 กรัม/ต้น มากกว่าการปลูกในดินผสม ที่ 51.33 กรัม/ต้น ช่วงระยะเวลาในการปลูก 7 เดือน และจากการตรวจหาปริมาณสารโรทีโนนที่มีอยู่ในรากด้วยเครื่อง HPLC พบว่ารากหางไหลที่ได้จากการปลูกในดินผสมมีสารโรทีโนนอยู่ 0.048 มิลลิกรัม/ลิตร สูงกว่าวิธีการปลูกแบบไร้ดิน ที่0.02 มิลลิกรัม/ลิตร และผลจากการนำสนามไฟฟ้าพัลส์มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดสารโรทีโนนจากรากหางไหล เพิ่มเติมจากวิธีการสกัดด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว และวิธีการสกัดด้วยน้ำเปล่าร่วมกับแอลกอฮอล์ 95 โดยที่ค่าของสนามไฟฟ้าเท่ากับ 4.7 กิโลโวลต์/เซนติเมตร ใช้เวลา 30 นาที  พบว่าตัวอย่างรากหางไหลที่สกัดด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวภายหลังใช้สนามไฟฟ้าพัลส์มีค่าโรทีโนนเพิ่มขึ้นเป็น 479.41 มิลลิกรัม/ลิตร จากเดิมที่ 200.96 มิลลิกรัม/ลิตร และตัวอย่างรากหางไหลที่สกัดด้วยน้ำเปล่าร่วมกับแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังใช้สนามไฟฟ้าพัลส์มีปริมาณโรทีโนนอยู่ที่ 567.350 มิลลิกรัม/ลิตร จากเดิมที่ 451.73 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ซึ่งตัวอย่างรากหางไหลที่ผ่านการสกัดเพิ่มเติมด้วยสนามไฟฟ้าพัลส์จะมีปริมาณ
โรทีโนนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดสารจากรากหางไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับนำไปใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

References

1. A. Sottikul. 2008. Product development from Derris root to control cabbage aphis (Lipaphis erysimi Kaltenbach) The Graduate School CMU. 99 pp.
2. Matsumura, F. 1975. Toxicology of Inseeticides. Plenum New York. 598 pp.
3. Dawson V.K., W.H. Gingerich, R. A. Davis, and P. A . Gilderhus. 1991. Rotenone persistence in freshwater ponds : effects of temperature and sediment adsorption. North American Journal of Fisheries Management 11:226 – 231.
4. Lehman, A.J. 1950. Some toxicological reasons why certain chemicals may or may not be permised as food additives. Quarterly Bulletin of the Association of food and Drug Officials.US, 14:82
5. WHO. 1992.. Rotenone health and safety guide ( Health and safety guide no.73 ) World Health Organization, Geneva.
6. Chatchawan Kantala, Veasarach Jonjaroen, Nattayaporn Suacumsang, Papol Sardyoung and Panich Intra. 2560. Development and Preliminary Test of a Laboratory-Scale Pulsed Electric Field System for Inactivating Microorganisms in Orang Juice, JITR Vol.1 No.1 Jul – Dec 17 RMUTL, 15-25 pp.
7. Pitiyont, V. and A. Sangwanich. 1997. Extraction, Isolation and Identification of pesticidal compound from Derris elliptica. The second Conference of Agricultural Toxic substances division.Department of Agriculture. P. 84-92
8. J. P. Clark, Pulsed electric field processing, Food Technology, vol. 60, no. 1, pp. 66-67, 2006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/05/2018