การผลิตน้ำมันดีเซลผสมแบบไม่แยกกลีเซอรีนจากน้ำมันพืชเหลือทิ้ง สำหรับเครื่องยนต์สูบน้ำ

ผู้แต่ง

  • จารุกิตติ์ พิบูลนฤดม

คำสำคัญ:

น้ำมันดีเซลผสม, น้ำมันพืชเหลือทิ้ง, เครื่องผลิตน้ำมันดีเซลผสมแบบไม่แยกกลีเซอรีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตน้ำมันดีเซลผสมแบบไม่แยกกลีเซอรีนจากน้ำมันพืชเหลือทิ้ง โดยนำน้ำมันพืชเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการเพิ่มคุณภาพน้ำมันด้วยต้มเพื่อไล่ความชื้น และผสมน้ำมันปิโตรเลียม แล้วนำมาผ่านกรองด้วยเครื่องผลิตน้ำมันดีเซลผสมแบบไม่แยกกลีเซอรีน พร้อมตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น โดยการตรวจสอบด้วยสายตา ไฮโดรมิเตอร์ กระดาษลิสมัส ซึ่งพบว่าน้ำมันดีเซลที่ได้ มีค่าใกล้เคียงกัน โดยน้ำมันพืชเหลือทิ้งผสมดีเซลอัตราส่วน 100/10 ได้ค่าความถ่วงจำเพาะ เท่ากับ 0.885 และความเป็นกรด-เบส มีค่า 6.2 น้ำมันพืชเหลือทิ้งผสมดีเซลอัตราส่วน 100/20 ได้ค่าความถ่วงจำเพาะ เท่ากับ 0.890 และความเป็นกรด – เบส มีค่า 6.2 น้ำมันพืชเหลือทิ้งผสมดีเซลอัตราส่วน 100/30 ได้ค่าความถ่วงจำเพาะ เท่ากับ 0.880 และความเป็นกรด-เบส มีค่าเท่ากับ 6.2 แล้วไปทดสอบกับเครื่องยนต์ระยะสั้นเพื่อหาประสิทธิภาพและจุดคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ จากการทดสอบพบว่า คือ น้ำมันพืชเหลือทิ้งผสมดีเซลอัตราส่วน 100/10 สามารถเดินเครื่องยนต์ได้ 3.36 นาที และลดต้นทุนได้ 6.52 บาทต่อลิตร น้ำมันพืชเหลือทิ้งผสมดีเซลอัตราส่วน 100/20 สามารถเดินเครื่องยนต์ได้ 3.33 นาที และลดต้นทุนได้ 6.00 บาทต่อลิตร น้ำมันพืชเหลือทิ้งผสมดีเซลอัตราส่วน 100/30 สามารถเดินเครื่องยนต์ได้ 3.23 นาที และต้นทุนได้ 5.50 บาทต่อลิตร ดังนั้น เวลาเฉลี่ยของการเดินเครื่องได้นานที่สุดคือ 3.36 นาที เป็นน้ำมันดีเซลที่ผสมอัตราส่วน 100/10 และมีจุดคุ้มทุนที่ 292.94 ลิตร

References

1. ชาคริต ทองอุไร. การผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน. วารสารสงขลานครินทร์. 23 (1)., 2544.
2. อนุรักษ์ ปิติรักษ์สกุล. การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการใช้แล้ว. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ., 2548.
3. Ying Wang, Hong Liu and Chia-Fon F.Lee. Particulate Matter Emission Characteristics of Diesel Engines with Biodiesel or Biodiesel blending, Renewable and Sustainable Energy; (64) : 569-581., 2016.
4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน). การผลิตการ ตรวจสอบมาตรฐานไบโอดีเซลเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ., 2552.
5. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. ไตรกลีเซอไรด์. [On-line]. Availablehttp://foodnetworksolution.com/wiki/word/1001/triglyceride-ไตรกลีเซอไรด์.
6. วัชรพล บุญสมบูรณ์. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของกิจการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว. มทร.รัตนโกสินทร์. นครปฐม., 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/05/2018