การบริหารจัดการของสถานีวิทยุชุมชนคลื่น F.M. 101.25 MHz จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ปรัชญานันท์ น้อยศิริ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, สถานีวิทยุชุมชนคลื่น F.M. 101.25 MHz, จังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการวิทยุชุมชน และเพื่อศึกษาการบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนคลื่น F.M.101.25 MHz จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเลือกตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย จำนวน 11 คน  เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และการจำแนกชนิดข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารจัดการวิทยุชุมชนคลื่น F.M.101.25 MHz จังหวัดอุตรดิตถ์ ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการด้านบุคคล พบว่า การบริหารจัดการของสถานีฯ เน้นบริหารจัดการให้สอดคล้องต่อระเบียบของคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใช้หลักการที่เป็นสื่อสาธารณะให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมและร่วมใช้ประโยชน์ได้ บุคลากรที่เข้ามาปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นผู้มีความสมัครใจและชอบที่จะปฏิบัติงานอย่างมีความสุข บุคลากรทุกคนเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบดิจิทัลในอนาคต ผู้บริหารสถานีฯ                            นำประสบการณ์ของตนเองถ่ายทอดเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรและให้ยึดหลักการการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงกฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ข้อบังคับต่างๆจาก กสทช. อย่างเคร่งครัด  จุดแข็งของสถานีฯ คือรูปแบบการจัดทำรายการวิทยุ เช่น การส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความมั่นคง/ปลอดภัยของสังคม จุดอ่อนของสถานีฯ คือขาดบุคลากรที่ชำนาญด้านการตลาด และมีอุปสรรคเกี่ยวกับผู้สนับสนุนรายการมีน้อยเพราะผู้สนับสนุนรายการนิยมใช้อินเทอร์เน็ตในการโฆษณาสินค้ามากกว่าวิทยุชุมชน จนทำให้เกิดการแย่งชิงผู้สนับสนุนรายการระหว่างเจ้าของสถานีฯ ต่างๆ  2) การบริหารจัดการด้านงบประมาณ พบว่ามีปัญหาบ่อยครั้งในเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายประจำเดือน สถานีฯ วิธีการแก้ปัญหา คือ มีการประชุมทุก 3 เดือน เพื่อนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ไข และปรับปรุงให้ดีขึ้น ดำเนินการโดยให้บุคลากร                ทุกฝ่ายมีการพูดคุย ซักถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ฝ่ายธุรการและการบัญชีชี้แจงปัญหาค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอนั้นมีอะไรบ้าง ผู้จัดรายการชี้แจงปัญหาว่าผู้สนับสนุนรายการมีน้อยเพราะเหตุใด เป็นต้น สถานีฯ จึงใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อแก้ปัญหาคือ เน้นเรื่องความมีเอกลักษณ์และสร้างจุดเด่น เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อผู้สนับสนุนรายการ จุดเด่นของสถานีฯ คือนำบุคคลในชุมชนที่มีความรู้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดรายการเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่ผู้ฟัง ใช้กลยุทธ์การวางแผนในหลาย ๆ ด้าน เช่น การบริหารจัดการช่วงเวลาของรายการ ประเภทของรายการความโดดเด่น ศึกษากลุ่มผู้ฟังก่อนว่าช่วงเวลาใดเหมาะสมกับผู้ฟังกลุ่มใด เป็นต้น  3) การบริหารจัดการด้านผู้ฟัง พบว่า สถานีฯ  ใช้วิธีให้มีผู้ฟังเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การวางแผนการจัดรายการ โดยนำเรื่องราวที่นำเสนอในรายการตรงกับความต้องการของผู้ฟังมากที่สุด จัดรายการให้แตกต่างจากสถานีอื่น ๆ เรื่องราวใหม่ ๆ ที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ  และเสนอข้อคิดเห็นให้ผู้ฟังได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นคนดีในสังคม  ผลที่ตามมาทำให้ผู้ฟังชอบและมีการบอกต่อจนทำให้มีกลุ่มผู้ฟังเพิ่มขึ้น
  2. การบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วมในสถานีวิทยุชุมชนคลื่น F.M.101.25 MHz จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า สถานีฯ มีการเชิญบุคคลในชุมชนที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัว เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน นักเรียน/นักศึกษา บุคลากรของหน่วยงานราชการ พระสงฆ์ ฯลฯ พวกเขามีส่วนร่วมในการจัดรายการวิทยุ และเสนอความคิดเห็น เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กฎระเบียบในข้อกฎหมาย            ต่าง ๆ เชื่อมโยงประชาชนในสังคมให้เข้าใจกัน  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนร่วมในการเป็นสื่อกลางรับบริจาคเงินเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือสังคม เช่น ช่วยเหลือเด็กพิการทางหัวใจ บำรุงสาธารณประโยชน์ และบำรุงศาสนา เป็นต้น ซึ่งสถานีฯ ให้ความสำคัญมากกับผู้มีส่วนร่วมในการจัดรายการส่วนใหญ่ประชาชนไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการของสถานีฯ ที่ชัดเจน ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของสถานีฯ อาจเป็นเพราะข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุชุมชนจากหน่วยราชการขาดความแน่ชัดและคลุมเครือ ทำให้ประชาชนยังสับสน แต่สถานีฯ ยังคงต้องการให้ประชาชนเปิดรับฟังวิทยุชุมชนเพิ่มขึ้น โดยใช้จุดเด่นคือมีการนำบุคคลในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินรายการวิทยุ โดยสถานีฯ มีขั้นตอนคือ ค้นหาและคัดกรองผู้มีความรู้ความสามารถในชุมชน เมื่อได้บุคคลที่ต้องการแล้วจะมีการพูดคุยกันกับทางสถานีฯ ต่อมาสถานีฯ จะดำเนินการจัดช่วงเวลาออกอากาศให้ ในการออกอากาศในแต่ละครั้งทำความเข้าใจกันก่อน ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในการจัดรายการเหล่านั้นต้องปฏิบัติตัวเช่นเดียวกันกับนักจัดรายการของทางสถานีฯ และเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมคือสามารถวิพากษ์วิจารณ์การผลิตรายการเพื่อจะได้นำไปแก้ไข ปรับปรุงต่อไป และรายการที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุดคือ การจัดรายการเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการเกษตร ทำนา ทำสวน ทำไร่ และการเลี้ยงสัตว์ รองลงมาคือด้านศิลปวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย                และกฎหมายที่จำเป็นสำหรับประชาชน เป็นต้น การมีประชาชนผู้มีความรู้ มีความชำนาญเฉพาะด้านมาร่วมใน               การจัดรายการวิทยุ ทำให้ประชาชนพึงพอใจมาก น่าเชื่อถือ ประชาชนได้นำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาตนเอง                     พัฒนาครอบครัว และยังนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

References

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา แก้วเทพ. (2546). แนวคิดวิทยุชุมชนและการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หอมดินอีสาน.อุบลราชธานี. จัดพิมพ์
โดยเครือข่ายสื่อภาคประชาชนภาคอีสาน.
ณัฐรดา วงษ์นายะ. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสถานีวิทยุชุมชนภาคเหนือตอนล่าง. บทความวิชาการ.
จุมพล รอดคำดี. (2542). วิทยุกระจายเสียงชุมชน (Community Radio) ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อ
ประชาชน. วารสารนิเทศศาสตร์, 17 (เล่มที่ เมษายน–มิถุนายน 2542) : 22-24 โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชัชวาล ชุมรักษา. (2557). วิทยุชุมชน: สื่อการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดีย
คอนเวอร์เจนซ์, 1 (เล่มที่ มกราคม-มิถุนายน 2557). จากเว็บไซต์
https://edtech.tsu.ac.th/etmc/ejournalVol1/article3_01_2014.pdf
ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2552, 24 กรกฎาคม) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 126, ตอนที่
พิเศษ 104 ง, หน้า6-14)
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 87 ง หน้า 2 วันที่ 28 พฤษภาคม 2557)
พระศรีอาริยะ ปิยสีโส (สิงห์คำ). (2548). การบริหารและรูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงที่เหมาะสมในการ
เผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่เยาวชนของวิทยุชุมชน วัดสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2550). การบริหารจัดการวิทยุชุมชน. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 1 (เล่มที่ 2) : 31-44.
จากเว็บไซต์ https://soctech.sut.ac.th/it/cr1/upload/5.pdf
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อยู่สิน. (2549). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง. หน่วยที่ 1 มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิเทศศาสตร์.
สุระชัย ชูผกา. (2549). งานวิจัยเรื่องบทบาทและสถานภาพวิทยุชุมชนไทยกับการมีส่วนร่วมของประชาชน.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุทธิเกียรติ ภูมิพัทธนสุข. (2553). การศึกษาการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ของสถานีวิทยุ FM 93.5 YES RADIO
RETRO PROGRAM. งานค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ. (2555). 1 ทศวรรษวิทยุชุมชนไทย. (พิมพ์ครั้งแรก). มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์
(Heinrick Boell Stiftung SouthEast Asia)
สาคร สุขศรีวงศ์. (2553). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท จี.พี.ไซเบอร์ปรินท์
จำกัด.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์บุ๊คเซนเตอร์.
อัญชนา สุขสมจิตร. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพการจัดรายการและการบริหารจัดการของสถานีวิทยุชุมชน
ในจังหวัดนครปฐม. ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อติชาต มณฑาทิพย์. (2550). บทบาทของนักจัดรายการวิทยุต่อการปลูกฝังคุณธรรมของเยาวชน (วัยรุ่น)
ในสังคมกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศาสนศึกษา). วิทยาลัยศาสนศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2018