พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อุมาวดี เดชธำรงค์ Chaiyaphum Rajabhat University
  • วัชรี มะโนคำ
  • ทวินัน แสนธิสาร
  • ชุมพล สุรพงศกร

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม, การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ และ 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภคจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสถิติทดสอบ t-test และ F-test

            ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้บริการซื้อเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าอุปโภค เครื่องปรุงอาหาร และขนมขบเคี้ยว ตามลำดับ และสาเหตุที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เนื่องจากมีสินค้าให้เลือกน้อย สินค้ามีสภาพเก่า เนื่องจากเก็บไว้นาน สินค้ามีราคาแพง และการจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ 2) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.80/S.D.=0.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ( =2.88/S.D.=0.73) ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ( =2.82/S.D.=0.53) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ( =2.76/S.D.=0.48) และด้านราคา ( =2.74/S.D.=0.60) และ 3) ผู้บริโภคที่มีเพศ, อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05

References

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2560). ดันธุรกิจค้าส่ง-ปลีกต้นแบบหนุน...ร้านค้าปลีกโชวห่วยเครือข่ายในภูมิภาคจับมืองัดเทคนิคการค้าที่แข่งขันอย่างดุเดือดช่วยปูทางสู่การบริหารธุรกิจมืออาชีพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dbd.go.th/mobile/news_view.php?nid=469402869 สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2560.

2. จิรวรรณ ดีประเสริฐ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 41-49.

3. จิรวรรณ ตั้งไพฑูรย์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). การวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างช่วงวัย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความภักดีต่อตราสินค้าร้านขนมหวานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 8(1), 148-158.

4. ฉันทัส เพียรธรรม และวันทนาพร รุ่งวรรณรัตน์. (2555). การปรับตัวของร้านโชห่วยภายใต้ กระแสการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1), 39-55.

5. ทานตะวัน เสือสะอาด. (2550). การปรับตัวเชิงกลยุทธ์ทางการตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. เพชรบุรี: สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

6. นภัทร ไตรเจตน์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย) กรณีศึกษาในตลาดไท ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

7. นิมิต ไชยวงค์. (2559). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์กระบะของผู้บริโภคจังหวัดลําปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 95-115.

8. นุชนาถ มีสมพืชน์. (2552). พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าและการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในอำเภอพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

9. บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

10. พิชัย ลัทธศักดิ์ศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการบริโภค น้ำดื่มบรรจุขวดของผู้บริโภคในเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ: วารสารรัชต์ภาคย์, 10(19), 73-78.

11. วุฒิพงศ์ คงนวลมี และ สุภาพร คูพิมาย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อกาแฟกระป๋องพร้อมดื่มในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น เอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 214-227.

12. ศิริณา ชูสอนสาย. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชวห่วย) ของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพใต้. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

13. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

14. ศุภรา เจริญภูมิ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อในอนาคตของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(130), 36-46.

15. สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2553). ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย): ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(1).

16. เสาวนีย์ พานิล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

17. อนุศาสตร์ สระทองเวียน. (2553). ธุรกิจค้าปลีกประเทศไทย. Executive Journal, 30(3), 134-142.

18. อัจฉราวรรณ งามญาณ. (2554). อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(131), 46-60.

19. BuilderNews. (2016). แนวโน้มตลาดค้าปลีกในปีพ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buildernews.in.th/news/propertyconstruction/4364 สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2560,

20. MGR Online. (2553). โชวห่วย “ชัยภูมิ” วิกฤต ห้างยักษ์แห่ยึด-จวก “มาร์ค” ไม่จริงใจลากยาวกม.ค้าปลีก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/local/detail/9530000004706 สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019