การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตด้านอาชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์
  • กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว

คำสำคัญ:

หลักสูตรบูรณาการ, วิถีชีวิตด้านอาชีพ, กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

บทคัดย่อ

       การวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตด้านอาชีพ กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและวิถีชีวิตด้านอาชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตด้านอาชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรบูรณาการเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตด้านอาชีพกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมาย  ที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ส้าน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 26 คน ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานบริบทชุมชน 2) หลักสูตรบูรณาการเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตด้านอาชีพ กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ  3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินชิ้นงาน และประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร

            ผลการวิจัย พบว่า

            1) บริบทชุมชน ตามหัวข้อต่อไปนี้ ความเป็นมาของหมู่บ้าน ประวัติป่า อาณาเขต ได้แก่ อาณาเขตติดต่อ พื้นที่หมู่บ้าน พื้นที่ป่า ลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ สัณฐานวิทยา ปฐพีวิทยา จำนวนประชากร เศรษฐกิจ ได้แก่ การประกอบอาชีพ ฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิต ประเพณี พิธีกรรม ข้อห้าม กฎ ระเบียบของหมู่บ้านการใช้ประโยชน์จากป่า

            2) องค์ประกอบและพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ กิจกรรม การเรียนรู้ ระยะเวลา สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เอกสารประกอบหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร ซึ่งนำหลักสูตรไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้

            3) ผลการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4,5 และ 6  โรงเรียนบ้านแม่ส้าน จำนวน 26 คน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.08 คะแนน และ 22.73 คะแนนตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            4) ผลการประเมินชิ้นงานซึ่งมีนักเรียนทำชิ้นงานได้สำเร็จจำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 73.07 จากนักเรียน จำนวน 26 คน คะแนนโดนภาพรวมอยู่ในระดับคะแนนระหว่าง  8 -10 รวมถึงการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.42

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2018