การศึกษาสภาพการรับรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติงานและจิตพิสัยต่อการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์
  • วัชราภรณ์ บุญยรักษ์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน, มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการรับรู้ ความเข้าใจ  การปฏิบัติงานและจิตพิสัยต่อการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์  และบุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 389 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการประมาณสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพ การรับรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติงานและจิตพิสัยต่อการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในคณะครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้และความเข้าใจงานประกันคุณภาพภายใน ระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 61.00
  2. บุคลากรเห็นว่าทักษะการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายใน เรื่อง การกำหนดผู้รับผิดชอบ    ในการดำเนินงานตามความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ การจัดลำดับความสำคัญของงานและการใช้เทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามลำดับ 
  3. บุคลากรเห็นว่าจิตพิสัยต่องานประกันคุณภาพภายใน เรื่อง ความกระตือรือร้นในการพัฒนา การเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความมุ่งมั่นพยายามลงมือปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจในการทำงานประกันคุณภาพให้สำเร็จ และความกระตือรือร้นและยินดีให้ความร่วมมือในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามลำดับ

References

1.เกียรติสุดา ศรีสุข.(2552).ระเบียบวิธีวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 3).เชียงใหม่:ครองช่างพริ้นติ้ง.

2.จินตนา สระทองขาว.(2554).ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

3.ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม.(2553).ปัจจัยที่เอื้อต่อคุณภาพของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามระบบการประเมินคุณภาพภายนอก.ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4.ทิพย์สุดา ศิลปะ. (2550).ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

5.ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง.(2556).การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 19(2), 9-20.

6.เนตรรุ้ง อยู่เจริญ.(2553).ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

7.ประภาศ ปานเจี้ยง.(2555).การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่.คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

8.ปฏิมา พุฒตาลดง.(2554).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดกำแพงเพชร(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

9.เปี่ยมสุข ทุ่งกาวี.(2557).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

10.พรเลิศ ยี่โถขาว.(2547).ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนทหารขนส่งกรมการขนส่งทหารบก.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

11.พนิดา วัชระรังษี.(2556).การรับรู้และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษาเขตนนทบุรี.มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

12.พัชมณ ใจสะอาด และภัทรพร กิจชัยนุกูล.(2555).การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

13.พีรญา เชตุพงษ์, เจิมสิริ ศิริวงศ์พากร, สมนึก แก้ววิไล, สิริรัตน์ วงษ์สำราญและศุภศิษฏ์ เร่งมีศรีสุข.2554).ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.กรุงเทพฯ:คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

14.ภิญโญ จูสี และชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์.(2558).เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.(วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์,ปทุมธานี.

15.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตงานประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานอธิการบดี.(2557).ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต.สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

16.มัฮดี แวดราแม. (2556).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายในที่บูรณาการกับงานปกติ.กรุงเทพฯ: คณะภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

17.มุกดา จิตพรมมา. (2552). สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยศิลปากร.(วิทยานิพนธ์สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

18.วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์. (2554).อิทธิพลของการรับรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามระบบคุณภาพภายใน.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

19.ศิริขวัญ ยิ่งเจริญ.(2553). สภาพและปัญหาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ . (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

20.สุขุมาล หวังวณิชพันธุ์ และคณะ.(2556).สภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

21.สุภัทรา เอื้อวงศ์และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะวิชามหาวิทยาลัยสยาม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

22.แสงสุรีย์ คำตุ้ย และคณะ. (2556).การศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อในการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผล.เชียงใหม่: สำนักงานทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

23.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).(2559). การสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษารอบสอง(พ.ศ. 2554-2558).กรุงเทพฯ:บริษัทจุดทองจำกัด.

24.อรวรรณ แสงสุวรรณ์.(2557).การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับระบบประกันคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1.(วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

25.Cohen,J.M.,&Uphoff,N.T.(1980).Participation’s place in rural development seeking clarity Through specificity. World Development.

26.David,K.,Newstrom,J.W.(1985). Humman Behavior at Work: Organizational Behavior(7th ed.).New York:McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-11-2018