การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้แต่ง

  • แสงระวี ณ ลำพูน
  • ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์
  • วิทยา พูนสวัสดิ์
  • หาญศึก เล็บครุฑ
  • บรรจบ สุขประภาภรณ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ, ชุมชนเป็นฐาน,นักเรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสาระการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี  เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่เชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการและ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครู ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประธานชมรมผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มแม่บ้าน   เป็นกลุ่มที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เทคนิคแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

  1. จากการศึกษาสาระการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่า สาระการเรียนรู้ที่นำมาจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 คือ สาระการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตและสิ่งแวดล้อม รายวิชาคณิตศาสตร์ คือ เรื่อง การวัดและเรขาคณิต และรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี  คือ เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยีกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่เชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ พบว่า มีจำนวนมาก จึงได้ทำการศึกษาภูมิปัญญาและแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1)  ภูมิปัญญาประเภทบุคคล มีจำนวน 3 แหล่ง 2) ประเภททรัพยากรธรรมชาติ มีจำนวน 1 แหล่ง  3) ประเภทสถานที่และองค์กร มีจำนวน 5 แหล่ง 4) ประเภทสังคมและวัฒนธรรม มีจำนวน 1 แหล่ง
  3. ผลการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พบว่า การพัฒนาหลักสูตร ได้ร่วมใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ แบบสืบเสาะหาความรู้และกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM ทำให้ได้หลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) สวนสมุนไพรหลังบ้าน 2) อากาศบ้านเฮา 3) มหัศจรรย์ของพืชท้องถิ่น 4) ดินดีในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) หม่อนไหมบ้านเฮา 2) Biodiversity น่ารู้    3) Hot spring บ้านเฮา 4) นวดแผนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่       1) ของกิ๋นบ้านเฮา 2) ป่าชุมชน คนท้องถิ่น 3) สับปะรดกวนชวนอร่อย 4) ก้อนหินมหัศจรรย์ และเมื่อศึกษามาตรฐานของหลักสูตรทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1. มาตรฐานการใช้ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 4.09  2. มาตรฐานความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ย 4.12 3. มาตรฐานความเหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.90  4. มาตรฐานความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ย 3.44

References

1.ทิศนา แขมมณี.(2554). ศาสตร์การสอน .กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.สำนักงานเลขานุการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579. กรุงเทพมหานคร.

3.พรหทัย ตัณฑ์จิตานนท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบูรณาการระหว่าง ศาสตร์เพื่อการพัฒนาบัณฑิตยุคใหม่ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยรีาชมงคลล้านนา. มหาวิทยาลัยลัยฯ.

4.วารุณี คงมั่นกลาง. (2560) .การสอนแบบบูรณาการคืออะไร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : www.gotoknow.org.

5.วิทยา แสนงาม. (2541). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการสานมวย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา

6.Beauchamp, G.A. (1968). Curriculum Theory (2 nd ed.). Illinois: Wilmette, the Kegs, Pass.

7.Beakley, B. A., Yoder, S. L. & West, L. L.(2003). Community-basedinstruction: A guidebook for teachers. VA: Council for Exceptional Children

8.Daneil L. Stufflebeam. Toward a Science of Education Evaluation” in Education Technology, Boston, Allyn and bacon. 1968.

9.Driver, R., & Bell, B. (1986). Students thinkingand the learning of science: A constructivist view. School Science Review, 67(240), 443-456

10.Marsh, C.J. (1997). Perspectives: Key Concepts for Understanding Curriculum.London:Falmer Press,

11.Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt Brace & World

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-11-2018