การพัฒนาระบบติดตามผลการเรียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ เตชาติ
  • สำเนา หมื่นแจ่ม
  • หนูม้วน ร่มแก้ว

คำสำคัญ:

ระบบติดตามผลการเรียนนักศึกษา, การติดตามผลการเรียน, การพัฒนาระบบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างโปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษาและศึกษาความพึงพอใจการใช้งานโปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มประชากร ได้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย   ราชภัฏเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมและ คู่มือการใช้งานโปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษา แบบประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ที่ปรึกษาในการใช้งานโปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1. การสร้างโปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษา มีขั้นตอน 9 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรม และงานวิจัย
    ที่เกี่ยวข้อง 2) ประชุมอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อกำหนดคุณสมบัติและออกแบบโปรแกรม 3) ประชุมชี้แจง ข้อกำหนด คุณสมบัติและออกแบบโปรแกรมกับผู้เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรม โดยใช้แบบบันทึกการประชุมในการบันทึกข้อมูล 4) ดำเนินการสร้างโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 5) ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมและคู่มือการใช้งานโปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คนจากแบบประเมินรายการ พบว่า ทุกรายการอยู่ในระดับดี 6) ทดลองใช้โปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาคณะครุศาสตร์ จำนวน 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ พบว่า โปรแกรมมีการใช้คำสื่อความหมายได้เหมาะสมเข้าใจได้ง่าย ประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง โปรแกรมทำให้ช่วยประหยัดเวลา และสำหรับตัวอักษรควรปรับตัวอักษร ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้วิจัยทำปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 7) ใช้โปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร 8) สอบถามความพึงพอใจในการใช้งานโปรแกรม 9) สรุปผลการใช้โปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษา
  2. ความพึงพอใจของอาจารย์ที่ปรึกษาในการใช้งานโปรแกรมและคู่มือการใช้งานโปรแกรมติดตามผลการเรียนนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(µ=4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ คู่มือการใช้งานมีความสอดคล้องกับโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด(µ=4.70) และรายการที่ได้ความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ รูปภาพในคู่มือมีขนาดเหมาะสม อยู่ในระดับมาก(µ=4.40)

References

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2558). รายงานประจำปี 2558. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ดุลยรักษ์ จำเดิม. (2558). การสร้างโปรแกรมแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์(EDI) เพื่อแก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศระหว่างระบบ(ERP System) สำหรับฝ่ายงานการตลาด บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริง จำกัด. การค้นคว้าแบบอิสระ วท.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒนา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ภัทร์อร ฟองสินธ์. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง การสร้างโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับระบบการจัดซื้อ. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. หน้า 54 - 63

รัญชนา นำอิน. (2555). การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานรูปแบบการวิเคราะห์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 6(1), 139-153.

วราพร ม่วงประถมและพรเทพ รู้แผน. (2558). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมพ์. 13(3), 47-55.

สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สถิตินักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.academic.cmru.ac.th/statold/result.php สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2558.

สุเทพ แก่งสันเทียะ. (2556). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาสู่การเป็นผู้สำในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019