ความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • มิรัญตรี คำมา
  • มินท์ธิตา ถึงฝั่ง
  • ณัจฉรียา ยางนอก
  • นริศรา ไชยรถ

คำสำคัญ:

ความพร้อม, บุคลากรทางบัญชี, การรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภู และ 2) เปรียบเทียบระดับความความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยเป็นสถานประกอบการที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและต้องมีการจัดทำบัญชีอย่างถูกต้อง จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t–test และ One way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า

          1) ความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.65, S.D.=0.23) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านทักษะการปฏิบัติงานและความถนัด ( =3.80, S.D.=0.38) รองลงมา คือ ด้านความรู้ความสามารถทางการบัญชี ( =3.68, S.D.=0.39) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านคุณลักษณะเฉพาะตัวบุคคลทางบัญชี ( =3.48, S.D.=0.41)

          2) ผลการเปรียบเทียบความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า บุคลากรทางบัญชีที่มีเพศ ระดับการศึกษา และทำงานในสถานประกอบในประเภทของธุรกิจต่างกัน ความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลากรทางบัญชีที่มีอายุต่างกัน ความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสถานประกอบการในจังหวัดหนองบัวลำภูไม่แตกต่างกัน

References

ขนิฐา นิลรัตนานนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาชีพบัญชี. 12(33); 25-39.

ทรายทอง เลิศเปียง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา สถานประกอบการเซรามิคตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 10(1); 145-161.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยมาศ เรืองแสงรอบ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). ปัญหาและอุปสรรคของการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล. วารสารวิชาชีพบัญชี. 5(13); 84-96.

รจนา ขุนแก้ว. (2557). ความพร้อมของบุคลากรสาขาวิชาชีพบัญชีไทยสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์ บช.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุนิสา กิจสมัคร และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชี เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของวิสาหกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บช.บ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู. (2559). ข้อมูลสถานประกอบการที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dbd.go.th/nongbualamphu/main.php?filename=index สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2559

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fap.or.th สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2559

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019