การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้อย่างมีความสุข สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • สายรุ้ง ธิตา Chiangrai Rajabhat University
  • วารีรัตน์ แก้วอุไร
  • เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท

คำสำคัญ:

แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก, การเรียนรู้อย่างมีความสุข, รูปแบบการเรียนการสอน, Positive Psychology Approach, The Happiness of Learning, Instructional Model

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 2) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้ การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน 1) สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 2)  การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 / 2558 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และคู่มือการใช้ 2) แบบประเมินการเรียนรู้อย่างมีความสุข 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test

ผลการวิจัยพบว่า

                 1. รูปแบบการเรียนการสอนได้นำเสนอตามแนวคิดของจอยซ์และเวลล์ (2009) ได้แก่ 1) ที่มาของรูปแบบการเรียนการสอน  2) รูปแบบการเรียนการสอน O3DR 3) การนำรูปแบบไปใช้ 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7008 2. นักศึกษากลุ่มทดลองมีการเรียนรู้อย่างมีความสุข สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองของนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน 4. ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข หลังการทดลองนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันทั้งข้อคิดเห็นและความถี่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2016