การพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสาร, กิจกรรมบทบาทสมมุติ, กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์, communicator personality development, role play activity, group relation activity

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์” เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และ 2) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาบุคลิกภาพจากกิจกรรมข้างต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษานิเทศศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานนิเทศศาสตร์ จำนวน 14 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินบุคลิกภาพก่อนและหลังทำกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์คือสถิติทีเทสต์ (t-test)  เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสังเกต ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดและสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนกลุ่มตัวอย่าง 2 คน

ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคลิกภาพนักสื่อสารก่อนและหลังทำกิจกรรมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่ากิจกรรมทั้งสองอย่างสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพภายนอก คือ 1) ลดอาการมือสั่น เสียงสั่น 2) เกิดความกล้าถามในสิ่งที่ไม่รู้หรือไม่เข้าใจ และ 3) กระตุ้นให้เปิดรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพภายใน คือ 1) ลดความวิตกกังวลเวลาสื่อสารในที่ชุมชน 2) เกิดความมั่นใจในตนเอง และ 3) กระตุ้นการวางแผนการสื่อสารล่วงหน้า 

 

Author Biography

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์

คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

ดวงสมร จันทับ. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้การใช้บทบาทสมมุติและการเล่านิทานที่มีต่อความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช. (2553). หลักการและทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (เอกสารอัดสำเนา).

พีร์ธนัฐ พิชิตรุจโชติ. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมุติของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1/14 พณิชยการ ในรายวิชาการขาย 1 ภาคเรียนที่ 2/2553. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสันติราษฎร์บริหารธุรกิจ. (เอกสารอัดสำเนา).

วันเพ็ญ สุมนาพันธุ์. (2545). ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมร ปาโท. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อการสื่อสารและวิธีการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร-มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธาทิพย์ แสนเดช. (2542). การใช้วิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนที่มีลักษณะต่างกัน ในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Griffin, E. (1991). A first look at communication theory. USA.: McGraw-Hill.

Pearson, J.C. & Nelson, P.E. (1997). An introduction to human communication: understanding & sharing. (7th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Verderber, R. F., & Verderber, K. S. (2002). Communicate! (10th ed.). Belmont, California : Wadsworth/Thomson Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2018