การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • จตุพร เนียมชู
  • นุชนาฏ ใจดำรงค์

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, มาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา, วิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ KW – CAI และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านป่ากอ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง และโรงเรียนวัดนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย จำนวน 15 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.77 และ 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา ซึ่งมีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (= 4.29, S.D.= 0.31) และแบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา ซึ่งมีคุณภาพด้านสื่อและการนำเสนออยู่ในระดับมาก (= 4.30, S.D.= 0.30) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t – test แบบ Dependent Sample)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ KW – CAI ร้อยละ 84.00 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

1. กมลทิพย์ ประศาสน์ธรรม. (2549). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบมัลติมีเดียในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง”อาหารและเครื่องดื่ม”. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

2. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและบทเรียนเครือข่าย. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

3. เนตรนภา เอกเพชร. (2552). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การอ่านมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

4. เบญจมาภรณ์ เมฆตรง. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา สำหรับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5. วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษา ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. (2558). รายงานการจัดลำดับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558. ตรัง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2018