พหุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • นิลวรรณ ประแกกัน
  • นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร, ความผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ คุณภาพชีวิตในการทำงานพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเพื่อศึกษาพหุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานรัฐวิสาหกิจทำงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก จำนวน  368  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter

          ผลการวิจัยพบว่า  ความพึงพอใจ   คุณภาพชีวิตในการทำงาน   พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก  อยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยด้านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมากที่สุด รองลงมาคือ  ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน  และปัจจัยด้านความพึงพอใจมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน  ตามลำดับ ซึ่งสามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์ของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ได้ร้อยละ 78.10 อย่างมีนัยสำคัญระดับ 0.01

References

1.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟผ. เขื่อนภูมิพล. (2558). แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ เขื่อนภูมิพล. คู่มือแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเขื่อนภูมิพล.

2.ชุติรัตน์ ชมพูรัตน์. (2552). ความผูกพันองค์กรของพนักงานบริษัท แอบบีเครสท์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

3.พิชิต เทพวรรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

4.พิมพ์ชนก ทรายข้าว. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5.รุจี อุศศิลป์ศักดิ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความยึดมั่น ผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6.วัลลพ ล้อมตะคุ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของ พนักงานสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ . วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการ มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

7.ศุลีพร จิตต์เที่ยง. (2554). ความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) .วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก

8.สวนีย์ แก้วมณี. (2549). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสารการบริหารสำหรับนักบริหารงานบุคคลมืออาชีพ

9.สุรเชษฐ์ ผการัตน์สกุล. (2552). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภาคนครหลวง 2. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

10.Brewer, A.M., & Lock, P. (1995). Managerial Strategy and Nursing Commitment in Australian Hospitals. Journal of Advanced Nursing, 21.

11.Buchanan, H. B. (1974). Building organization commitment the socialization of managers in work organization. Administrative Science Quarterly.

12.Edwin Locke .(1968). Organizational Behavior and Human Performance. Chicago: Rand McNally.

13.George, J.M.,and Jones, G.R. (1999). Understanding and managing: Organizational Behavior. Massachusetts: Addison – Wesley.

14.Gilmer. (1971). Industrial psychology. New York : McGraw-Hill Book.

15.Greenberg, J. and Baron, R.A. (1995). Behavior in organization : Understanding and managing the human side of work. New Jersey : A Simon and Schuster.

16.Huse, E.F.,and Cummings, T.G. (1985). Organizational Development and Change. St.Paul, Minn : West.

17.Kossen, S. (1991). The Human Side of Organization. New York:Hurper Collins Publishers.

18.Lee, C. F. and Lee, A. C. (2000). Statistic for Business and Financial Economics. Singapore : World Scientific.

19.Likert, R. (1970). A Technique for The Measurement of Attitude. In G.F. Summer (Ed). Attitudes Measurement. New York : Rand Mcnally.

20.Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed). New York : McGraw - Hill.

21.Organ D.W. (1988). Organizational Citizenship Behavior: The Good Soldier Syndrome. Massachusetts : Lexington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-11-2018