Author Guidelines

ข้อกำหนดสำหรับการตีพิมพ์บทความต้นฉบับและรูปแบบในการนำเสนอบทความ

1. ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ (Manuscript Requirements)

บทความที่จะส่งต้องเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความรับเชิญ ตามสาขาวิชาที่กำหนด โดยจะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารอื่น ทั้งนี้เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสังคมวิจัยและพัฒนา ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความและไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร

ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความให้ดาวน์โหลดไฟล์ Template ของบทความ โดยต้องเขียนชื่อ-สกุล สถานที่ทำงานหรือสถานศึกษา และอีเมลในบทความต้นฉบับ และใน Metadata บทความบนระบบ ThaiJO ให้ครบถ้วน รวมถึงกรอกข้อมูลในใบนำส่งบทความ และส่งเข้ามาที่อีเมล jmardjournal@gmail.com ผู้เขียนบทความควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น ตัวสะกด วรรคตอน ความเหมาะสมและความสละสลวยของการใช้ภาษา รวมทั้งระบุประเภทของบทความให้ชัดเจนว่าเป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความรับเชิญ

องค์ประกอบของบทความทั้ง 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้

1.1 บทความวิจัย เป็นบทความที่นำเสนอการวิจัย และผลลัพธ์ที่ได้รับอย่างเป็นระบบ สรุปผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ บทความวิจัยต้องเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย โดยมีองค์ประกอบตามลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้

     1) บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ควรเรียบเรียงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และสรุปผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาวิจัย โดยให้มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และมีคำสำคัญ/Keywords จำนวน 4-5 คำ

     2) บทนำหรือส่วนนำ ควรประกอบด้วยความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย พร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความ ได้แก่ คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย และแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (หรือการทบทวนวรรณกรรม)

     3) วิธีการวิจัยหรือระเบียบวิธีการวิจัย ควรประกอบด้วยวัตถุประสงค์ สมมติฐาน ประชากรกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

     4) ผลการศึกษา ควรบรรยายให้เห็นผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัย ซึ่งอาจจะจำแนกเป็นประเด็นต่าง ๆ รวมถึงเพิ่มภาพประกอบหรือตารางสรุปข้อมูล เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในผลการศึกษามากขึ้น

     5) สรุปผลการศึกษา ควรบรรยายสรุปผลการศึกษาที่ได้จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัย

     6) การอภิปรายผลการวิจัย ควรเรียบเรียงและจำแนกเป็นประเด็นให้ชัดเจน โดยเปรียบเทียบผลการวิจัยกับแนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย และเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ผ่านมา เพื่อให้มี
ความสอดคล้องหรือความแตกต่างกันในแต่ละประเด็น หรือแสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการศึกษา

     7) ข้อเสนอแนะ ควรระบุว่างานวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และระบุว่าควรศึกษาประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยต่อไป

     8) เอกสารอ้างอิง/References ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) หรือ APA style 6th edition

1.2 บทความวิชาการ เป็นบทความที่นำเสนอแนวคิดหรือการวิเคราะห์ที่นำไปสู่ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน โดยเป็นไปตามหลักวิชาการหรือตามประสบการณ์ทางวิชาชีพของผู้เขียนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาทางสังคมศาสตร์ ที่นำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้ โดยมีองค์ประกอบตามลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้

     1) บทคัดย่อภาษาไทยและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ควรเรียบเรียงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย และสรุปผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาวิจัย โดยให้มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และมีคำสำคัญ/Keywords จำนวน 4-5 คำ

     2) ส่วนนำ ควรบอกถึงที่มา หลักการและเหตุผลของบทความ

     3) เนื้อหา (หรือประเด็นที่จะนำเสนอ) ส่วนนี้คือ เนื้อหาของประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องสอดแทรกแนวคิด ทัศนคติ และแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ และที่สำคัญต้องยกแหล่งอ้างอิงมาประกอบ         

     4) สรุปผลการศึกษา ควรขมวดประเด็นทั้งหมดด้วยถ้อยคำที่สั้น ง่าย ได้ใจความ กระตุ้นให้ผู้อ่านได้คิดตาม

     5) เอกสารอ้างอิง/References ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) หรือAPA style 6th edition

1.3 บทความรับเชิญ เป็นบทความจากผู้เขียนที่มีชื่อเสียง มีความเชี่ยวชาญหรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและได้เกียรติรับเชิญจากกองบรรณาธิการวารสาร โดยกำหนดให้มีจำนวนหน้าไม่เกิน 10-15 หน้ากระดาษ และประกอบด้วย บทนำ หรือประเด็นหรือเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ และเอกสารอ้างอิง/References แบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) หรือ APA style 6th edition ทั้งนี้บทความรับเชิญจะถูกพิจารณาและกลั่นกรองโดยกองบรรณาธิการวารสารเท่านั้น

 2. รูปแบบในการเตรียมต้นฉบับและนำเสนอบทความ

ผู้เขียนต้องเตรียมต้นฉบับ และนำเสนอบทความตามที่วารสารกำหนด โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Template ของบทความ เพื่อใช้ในการเตรียมต้นฉบับ ได้ที่หน้าคำแนะนำผู้เขียนบทความ โดยต้องมีรายละเอียดดังนี้

     2.1 จำนวนหน้าบทความ กำหนดให้บทความมีความยาว 12-25 หน้ากระดาษ A4 โดยประมาณ (จำนวนหน้ากระดาษรวมเอกสารอ้างอิง/References) (ส่วนบทความรับเชิญ กำหนดให้บทความมีความยาว 10-15 หน้ากระดาษ A4)

     2.2 ประเภทบทความ (บทความวิจัย/บทความวิชาการ) โดยระบุไว้ส่วนหัวกระดาษมุมซ้ายบนให้ชัดเจน

     2.3 ขอบเขตหน้ากระดาษ กำหนดให้มีขอบเขตหน้ากระดาษ ดังนี้ ขอบบน 1.0 นิ้ว ขอบล่าง 1.0 นิ้ว ขอบซ้าย 1.0 นิ้ว และขอบขวา 1.0 นิ้ว

     2.4 การจัดหน้ากระดาษ กำหนดให้จัดหน้ากระดาษแบบ 1 คอลัมน์

     2.5 การจัดระยะห่างระหว่างบรรทัด

          1) การจัดระยะห่างบรรทัดระหว่างหัวข้อหลัก/หัวข้อรองกับเนื้อหาให้จัดระยะห่างระหว่างบรรทัด 8 point

          2) การจัดระยะห่างบรรทัดเนื้อหาให้จัดระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งบรรทัด (single)

     2.6 การย่อหน้าสำหรับเนื้อหาบทความที่มีการเรียงลำดับหัวข้อรอง ใช้การย่อหน้า 1.5 นิ้ว 2.0 นิ้ว ตามลำดับ

     2.7 รูปแบบตัวอักษร กำหนดให้ใช้ TH Sarabun New โดยมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบในบทความ

รูปแบบที่กำหนด

1. ชื่อบทความภาษาไทย

TH Sarabun New 20 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา

2. ชื่อบทความภาษาอังกฤษ

TH Sarabun New 20 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา

3. ชื่อผู้เขียนภาษาไทย

TH Sarabun New 16 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา

4. ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ

TH Sarabun New 16 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา

5. ชื่อหน่วยงาน/สังกัดผู้เขียนภาษาไทย

TH Sarabun New 16 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา

6. ชื่ออีเมลผู้เขียนบทความ หรืออีเมลผู้ติดต่อหลัก

TH Sarabun New 16 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวธรรมดา

7. ชื่อหัวข้อหลัก

TH Sarabun New 16 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา

8. ชื่อหัวข้อรอง (1)

TH Sarabun New 16 point กำหนดชิดซ้าย โดยย่อหน้าจากหัวข้อหลัก 0.5 นิ้ว ตัวหนา

9. ชื่อหัวข้อรอง (2)

TH Sarabun New 16 point กำหนดชิดซ้าย โดยย่อหน้าจากหัวข้อหลัก 1 นิ้ว ตัวหนา

10. เนื้อหาหรือข้อความ

TH Sarabun New 16 point ตัวธรรมดา

11. ภาพที่ (เลขลำดับ)

TH Sarabun New 16 point กำหนดกึ่งกลาง ตัวหนา

12. คำบรรยายภาพ

TH Sarabun New 16 point ตัวธรรมดา

13. ตารางที่ (เลขลำดับ)

TH Sarabun New 16 point กำหนดชิดซ้าย ตัวหนา

14. คำบรรยายตาราง

TH Sarabun New 16 point ตัวธรรมดา

 

สำหรับผู้เขียนบทความ (ดาวน์โหลด)

ใบนำส่งบทความ     WORD หรือ PDF

Template บทความวิจัย    WORD หรือ PDF

Template บทความวิชาการ    WORD หรือ PDF

Template บทความรับเชิญ     WORD หรือ PDF

 

3. รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความ

                    รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความกำหนดให้ใช้รูปแบบการอ้างอิง/References The American Psychological Association โดยดูตัวอย่างการอ้างอิงฉบับเต็มได้ที่ APA style 6th edition

 

4. การส่งบทความ (Paper Submission Online)           

      ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความกับวารสารสังคมวิจัยและพัฒนา กรุณาส่งต้นฉบับบทความโดยส่งเข้าระบบ ThaiJO ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/JMARD พร้อมส่งใบนำส่งบทความต้นฉบับที่ jmardjournal@gmail.com 

 

อัพเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 4 มกราคม 2567