กองบรรณาธิการวารสาร

บรรณาธิการ                    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์

หัวหน้ากองบรรณาธิการ  : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สามารถ บุญรัตน์

ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ    : นายพุทธิพงษ์ กันทะรส

กำหนดเผยแพร่                : ปีละ 4 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม - ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน-ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน- ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม)

คณะกรรมการกองบรรณาธิการ

พระครูสิริสุตตานุยุต,ดร,รศ.              มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระครูโกวิทย์อรรถวาที,ดร.ผศ.          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ อุเทน ปัญโญ          มหาวิทยาลัยนอร์ท เชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยนันท์ธรณ์ ขาวงาม  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

รองศาสตราจารย์ ดร.โชติ บดีรัฐ         มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

รองศาสตราจารย์ ดร.จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ         มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ เลิศสมพร    มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล เครือแสงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ อุปสอด  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors) บรรณาธิการต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

          ๑. มีหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่รับผิดชอบ ๒. ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในทุกกรณีตลอด ระยะเวลาในการเป็นบรรณาธิการของวารสาร

          ๓. ตัดสินใจคัดเลือก และกลั่นกรองบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของ วารสารเป็นสำคัญ

          ๔. ไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว

          ๕. ไม่ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจหรือใช้เหตุผลและความรู้สึกส่วนตัว ต้อง ให้ผู้นิพนธ์หาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยนั้น ๆ ก่อน

          ๖. ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน กองบรรณาธิการ และคณะผู้บริหาร

          ๗. มีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรม ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น

          ๘. หากตรวจพบ การคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความบรรณาธิการต้องหยุด กระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ

          ๙. ตรวจสอบขั้นตอนการประเมินบทความของวารสารให้เป็นความลับ มีความโปร่งใส่และยุติธรรม ปราศจากอคติ และตรงตามเวลาที่กำหนด

          ๑๐. ดำเนินการออกวารสารให้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด