A MODEL OF SCHOOL ADMINISTRATION TOWARDS WORLD CLASS STANDARD OF SCHOOLUNDER OFFICE OF VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ วงษ์ป้อม
พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ
สมคิด สร้อยน้ำ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเพื่อตรวจสอบรูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) นำเสนอการวิจัยเป็น 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากล มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การศึกษาเอกสาร (Documentary Analysis) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) กับนักบริหารหรือนักวิชาการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 3 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากลของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กำหนดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม กับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 205 คน ระยะที่ 4 การตรวจสอบรูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ (Expert Group Meeting) จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า


          1) ผลสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 3 คนผู้วิจัยสรุปสาระสำคัญได้ 8 ประเด็น ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านครู ด้านผู้บริหาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านความร่วมมือและการบริการวิชาชีพ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากลในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง และผลจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวม 8 ด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) การตรวจสอบยืนยันรูปแบบการจัดอาชีวศึกษามาตรฐานสากลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องแม่นยำ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

How to Cite
วงษ์ป้อม พ., พงษ์ภิญโญ พ., & สร้อยน้ำ ส. (2019). A MODEL OF SCHOOL ADMINISTRATION TOWARDS WORLD CLASS STANDARD OF SCHOOLUNDER OFFICE OF VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION. Journal of MCU Nakhondhat, 6(8), 3826–3842. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/190509
Section
Research Articles

References

ดิฐารัตน์ ลิวรางกุล. (2553). ความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลกับการเตรียมการและแสวงหาผู้ร่วมพัฒนา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิเรก วรรณเศียร. (2554). การจัดการศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยสวนดุสิต.

ประมวญจิตต์ พันธุ์เสือทองและสมลักษณ์ พรหมมีเนตร. (2558 ). การบริหารงานวิชาการสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 . วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , 9(พิเศษ), 200-209 .

พรรษประเวศ สัตตบุษย์วรกุล และสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2557). การสังเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและชีวิตจริงเพื่อระบุปัญหาและการแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล. OJED วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), 612-624.

วจีพร แก้วหล้า, จินตนา จันทร์เจริญและวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2558). การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. Veridian E-Journal, 8(1), 1099-1107.

วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์. (2555). การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School). ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิพร รินทะ. (2553). การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล : กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองคง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ 2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2558). การส่งเสริมการศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุขสวัสดิ์ บุญศรี. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมาตรฐานสากลในโรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Martin Canoy. (1992). Globalization and education reform: what planners need to know. Parisn: UNESCO.

McKinsey & Company. (2007). How the world's best-performing school systems come out on top. New York: Author.