องค์ประกอบของการให้บริการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของ บริษัทรักษาความปลอดภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลาง

Main Article Content

ร.ต.ต. เลิศชาย พิพัฒนสุคนธ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของการให้บริการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของธุรกิจรักษาความปลอดภัย ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลาง ทำการเก็บข้อมูลจากผู้จัดการบริษัทผู้ใช้บริการรักษาความปลอดภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลาง จำนวน 400 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐาน
                ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับขนาดของบริษัทรักษาความปลอดภัยในระดับมากที่สุด รองลงมาพบว่ามีการให้ความความสำคัญกับจำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทผู้ให้บริการ และการรับผิดชอบต่อความเสียหายว่ามีผลต่อความสำเร็จของการบริการ ส่วนความสำคัญด้านคุณลักษณะของบริษัทผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย พบว่า ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยในภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน โดยพบว่า ชื่อเสียงของเจ้าของธุรกิจมีความสำคัญเป็นอันดับแรก รองลงมาคือหน่วยงานที่เคยใช้บริการสำหรับนำมาใช้ในการอ้างอิง การได้รับการรับรอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสถาบันด้านความมั่นคงต่างๆ  การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากร การได้รับการรับรองมาตรฐาน และประสบการณ์ของบริษัทผู้ให้บริการในธุรกิจรักษาความปลอดภัย เรียงตามลำดับ
                ส่วนด้านประสิทธิภาพในการให้บริการที่นำไปสู่ความสำเร็จผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมากเป็นอันดับแรก ตามด้วยความไว้วางใจ ประสิทธิภาพของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ และความน่าเชื่อถือของการให้บริการจากบริษัทรักษาความปลอดภัย ส่วนด้านส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จในการให้บริการพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดการด้านการให้บริการมากเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสายตาผู้รับบริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ อัตราค่าบริการ ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาด และความน่าเชื่อถือของบุคลากร
                ผลการวิเคราะห์สถิติสรุปอ้างอิงพบว่า องค์ประกอบของการให้บริการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของ บริษัทรักษาความปลอดภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลาง ประกอบไปด้วย ปัจจัยบางส่วนของคุณลักษณะบริษัทผู้ให้บริหาร ด้านประสบการณ์ (b = 0.31) คุณภาพบริการ ด้านความไว้วางใจ (b = 0.14) และส่วนประสมทางการตลาด ด้าน ผลิตภัณฑ์หรือบริการ (b = 0.22) ด้านราคาค่าบริการ (b = 0.15) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (b = 0.29) สมการมีอำนาจการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 36 และสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
Y = 3.58+0.05 X01-0.02 X02+0.13 X03+0.01 X04+0.04 X05+0.31 X06**+0.12 X07+0.02 X08-0.04 X09+0.14 X10*+0.14 X11+0.22 X12**+0.15 X13*+0.29 X14**+0.07 X15 +0.01 X16+0.01 X17+0.03 X18       


* นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยชินวัตร 10400
Corresponding author : [email protected]

Article Details

How to Cite
พิพัฒนสุคนธ์ ร. เ. (2019). องค์ประกอบของการให้บริการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของ บริษัทรักษาความปลอดภัยในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(1), 213–225. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2019.38
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตยาพร เสมอใจ .(2549). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นันทวรรณ ทองพายัพ (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกแบบการฝากเงินสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวของธนาคารออมสินสาขาเถิน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

ภาษิณี ปานน้อย. (2553). การบริการสารสนเทศเชิงรุกของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รังสรรค์ เกรียงไกร. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของธุรกิจ และการเลือกใช้บริการรักษาความปลอดภัย กรณีศึกษาในเขตนิคมอุตสาหกรรมในอีสต์เทรินซีบอร์ด. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์ธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีระวัฒน์ กิจเลิศไพโรจน์ (2547). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็คยูเคชั่น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

สมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัย. (2558). ร่างพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 6 เมษายน 2560, จาก www.securitythaicenter.com/latest?102.

สุรคุณ คณุสัตยานนท์ (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการคาร์แคร์ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุเทพ กลมกล่อม (2547). ความคาดหวัง และการรับรู้ในคุณภาพบริการของลูกค้าที่ใช้บริการ. ด้านสินเชื่อ ธ.ก.ส. สาขาพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

อรปภา คุ้มพูล วันชัย ปานจันทร์ วุฒิพล สกลเกียรติ และ พงศ์เทพ จิระโร.(2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารองค์กรธุรกิจรักษาความปลอดภัย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 97 (1), 52-56.

อรวรรณ ลลิตแจ่มเลิศ (2558). การศึกษาทัศนคติและค่านิยมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Kotler, P. (2001). Principles of Marketing, (2nd ed) Hemel Hempstead : Prentice‐Hall.

Kotler, P. (1994). Marketing Management Analysis, Planning, Implementation, and control, (8th ed.).New York : Prentice hall.

Jähi., M. (2011). Key drivers of customer value in business-to-business security guard services, WIT Transactions on the Built Environment, 117,137-148. doi:10.2495/SAFE110131.

Parasuraman, Zeithaml, & Berry. (1988). Delivery Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York : Free Press.

Parasuraman, A., Zeithaml, A. & Berry, L. (1990). Perceived service quality as a customer‐based performance measure : An empirical examination of organizational barriers using an extended service quality model. Human Resource Management. 30 (3),335-364.

Voorm, V.H., and Deci, E.L. (1970). Management and Motivation: Select Readings, Harmondsworth : Penguin.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.), New York: Harper and Row.