An education program to promote identity of students in a nursing college under the jurisdiction of Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development the Ministry of Public Health

รูปแบบการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการศึกษา, อัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development)  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาล  วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  กระทรวงสาธารณสุข  รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสานแบบแผนหลายระยะ (Multi-phase  design)  และการวิจัยระยะยาว (Longitudinal  study)  กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สุพรรณบุรี  ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2556   ดำเนินการพัฒนาและติดตามเป็นเวลา 4 ปีการศึกษา  จนนักศึกษาสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2559  การวิจัยมี 4 ระยะ ระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555-เดือนกุมภาพันธ์ 2561   ระยะที่ 1 การวิเคราะห์อัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาล ระยะที่ 3 การนำรูปแบบการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาลไปใช้ดำเนินการพัฒนานักศึกษาในกลุ่มประชากรเป้าหมาย และระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาล                               

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลมี                       6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิด  ดำเนินการบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าการพัฒนาอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตร ผ่านกระบวนการจัดการศึกษา 2) จุดมุ่งหมาย เพื่อจัดการศึกษาที่เสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลให้เกิดขึ้นให้ตัวนักศึกษาอย่างต่อเนื่องและส่งผลสะท้อนถึงอัตลักษณ์บัณฑิตที่คาดหวังเมื่อสำเร็จการศึกษา  3) หลักการ ประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการ  เน้นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ (Active  learning)  การออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะสมกับการพัฒนานักศึกษาในแต่ละชั้นปี และสภาพแวดล้อมภายในสถาบันที่เอื้อต่อการพัฒนาอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาล  4) กระบวนการจัดการศึกษา  มีการพัฒนาอัตลักษณ์ใน 4 มิติ ได้แก่ทัศนคติ บุคลิกภาพทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพและคุณธรรมวิชาชีพ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและจุดเน้นในการพัฒนานักศึกษาแต่ละชั้นปี  5) การประเมินผล ประเมินผลผลิตและผลลัพธ์ของการดำเนินงาน และ                 6) ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ การทำความเข้าใจรูปแบบ การประสานงาน  การมีส่วนร่วมของนักศึกษา และการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ

ประสิทธิผลของรูปแบบ ประเมินจากผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น  พบว่า 1) คะแนนประเมิน              อัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 1,2,3 และ 4 สูงขึ้นทุกปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) คะแนนประเมินอัตลักษณ์บัณฑิตเมื่อสำเร็จการศึกษารายด้านและภาพรวมไม่น้อยกว่า 3.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด   

References

Reference
1. Suwannachin, C., and Jantarapanya, P. Student’s Identity Construction in Higher Education. Panyapiwat Journal Vol.7 N0.2 May-August 2015 267-280 (in Thai)
2. Oyserman, D., Elmore, K., and Smith, G. Handbook of self and identity. London: Guilford Press; 2012.
3. Black, P. B., and Chitty, K. K. Professional nursing concept & challenge. Missouri: Mosby; 2011.
4. Nawsuwan, K., Wisalaporn, S., and Sattayarak, W. D. Strategies to develop the nursing students’ identity in Nursing Colleges, Ministry of Public Health. Hatyai Journal, 2015; 13(2): 177-132. (in Thai)
5. Dechakup, P., and Yindeesuk, P. Skill 5C to develop learning and teaching-standard base. Bangkok: Chulalongkorn Press; 2008. (in Thai)
6.Bonwell, C.C., and Eison, J.A. Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Clearinghouse on Higher Education Washington DC: George Washington Univ. Washington DC; 1991.
7. OHEC. Prepare to produce graduated student in 21st century. OHEC Newsletter, 2011; 2(27): 2-4. (in Thai)
8. Lairio, M., Puukari, S., and Kouvo, A. Studying at university as part of student life and identity construction. Scandinavian Journal of Education Research, 2013; 57(2): 115-131.
9. Weerungkorn, J. The direction of students’ development to promote Thai graduate’s identity towards global scale. (online). 2011(Retrived 2016/5/27); from http://newgrad.sa.ku.ac.th/index.php. (in Thai)
10. Onsri, P. 21 Contemplative education: education for human development in 21st century .
Journal of The Royal Thai Army Nurses, 2014; 15(1): 7-11. (in Thai)
11. Thonggarb, M. Creating and Developing a Model of Student Affair Administration for Private Higher Education. SSRU Graduate Studies Journal (online).2015 (Retrived 2017/9/27); 8(2): 208-220. from http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/issue14/article/view/391/382. (in Thai)
12. Nilapan, N. The characteristic of leaders in participatory administration, the local municipality school, are office 1. Dissertation for doctoral degree of Education (Educational Administration), Silapakorn University, Nakornpathom, 2013. (in Thai)
13. Kaewmanee, S. The model of participatory administration of committee to promote efficiency of the primary school. Dissertation for doctoral degree of Education (Educational Administration), Naresuan University, 2013. (in Thai)
15. Bunjerdkit, T., Phumipattrakum, P., Thanaphongsathorn, W., ang Chumnan, B. The development strategies of students’ identity of Nakhon Sawan Rajabhat University. Journal of the Association of Researcher, 2013; 18(2): 55-68. (in Thai)
16. Wattanasrisin, J., and Saeloo, J. Student identity reinforcement model fellows to the family of Boromarajonani College of Nursing, Nakorn Si Thummarat. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 2015; 25(3): 27-42. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2018-06-14

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย