การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงในชุมชน

Development of the Capacity Building Model for Caregivers of Dependency Elderly Persons in the Community

ผู้แต่ง

  • วิยะดา รัตนสุวรรณ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปะราลี โอภาสนันท์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล, รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ขั้นตอนที่ 2 เป็นการกำหนดรูปแบบและการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 4  การปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบประกอบด้วยผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 40 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 40 คน  บุคลากรทางสุขภาพในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 20 คน บุคลากรในหน่วยงานท้องถิ่นและผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (Interview) และ การสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยใช้แนวคำถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำไปกำหนดรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน  การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบทำในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่อยู่ในตำบลอื่น จำนวน 40 คน ใช้วิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลองหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลัง เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบบประเมินความเครียดและแบบวัดการเผชิญความเครียด ซึ่งผ่านการทดสอบคุณภาพแล้ว  เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ ของคะแนนการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ความเครียดและการเผชิญความเครียดโดยใช้การทดสอบค่าที (Paired  t-test)

          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน คือ RAISING Model ประกอบ ด้วย 7 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 Reflection for positive  thinking การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดเพื่อหามุมมองด้านบวก องค์ประกอบที่ 2 ADL skill การพัฒนาทักษะในการดูแลกิจวัตรประจำวันและทักษะเฉพาะอย่าง เช่น การทำแผลกดทับ การให้อาหารทางสายยาง การเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุที่มีภาวะอ่อนแรงของแขนขาจากเตียงไปยังรถเข็น องค์ประกอบที่ 3 Information การให้ข้อมูลต่างๆที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง องค์ประกอบที่ 4  Social  support  การสร้างกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน องค์ประกอบที่ 5 Integrated Coping strategy กลยุทธ์เผชิญความเครียดแบบบูรณาการ องค์ประกอบที่ 6 Need for managing  personal  time การจัดให้มีเวลาพักจากการดูแล โดยจัดกิจกรรมเปิดใจกับสมาชิกในครอบครัว  องค์ประกอบที่ 7 Goal setting  in caring การพัฒนาทักษะในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนในการดูแลให้เหมาะสมกับบริบทของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

References

1. Prasatkul, P.The Situation of Thai Elderly in 2015. Bangkok : Population Research Institute And Society, Mahidol University Foundation for Thai Elderly Research and Development Institute (MAS), 2016. (in Thai)
2. Sasat, S. Nursing care for the elderly: common problems and care guidelines.
Bangkok : Chulalongkorn University,2006. (in Thai)
3. Corbin, J. M. Introduction and overview : Chronic Illness and Nursing in Hymen,R.B.
And Corbin,J.M. (eds).Chronic Illness Research and Theory for Nursing Practice.
Newyork : Springer Publishing Company, 2001.
4. Sreethamrongsawad, S. and Boonthamjalern, G. Synthesis of Long-term Care System for the Elderly in Thailand.Bangkok : Foundation for Thai Elderly Research and Development Institute, 2010. (in Thai)
5. Sirikampeng, A. and Posing, P. The Long Term Care for the Elderly Dependency on Thailand 4.0 Era.Dhammathas Academic Journal, 2017; 17(3) : 235-245. (in Thai)

6. Rattanawimol, K. Role Strain of Family of Dependency Elderly : A Case Study of the
Minicipality of Sukhothai Province.Master of Nursing Science in Nursing Science.
Faculty of Nursing. Bangkok : Chulalongkorn University, 2002. (in Thai)
7. Sreehapak, S et al. Impact and burden of long-term care for Thai elderly.Nonthaburi : Institute of Public Health Systems Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health, 2014. (in Thai)
8. Batram, K. Capacity Building of Caregivers for Health Care of the Disabled Elderly Master of Public Health.(Community Health Development).Nakhon Ratchasima Province : Rajabhat University. 2014. (in Thai)
9. Zabalegui Adelaida. Galisteo, Maria., Navarro, Maria Montserrat.INFOSA intervention for caregivers of the elderly, an experimental. Geriatric Nursing, 2016 ; 37 : 426-433.
10. Mingkhuan, P. Stress and coping of elderly patients. Stroke.Master Thesis Adult Nursing College Chiang Mai University,1999. (in Thai)
11. Dokmai, P. Positive perspectives in the lives of spinal cord injured patients. Master of Arts (Medical and Health Social Sciences).Nakhon Pathom : Mahidol University, 2013.(in Thai)
12. Bandura, Albert. Social Learning Theory. New Jersey : Prentice – Hall,1977.
13. Jamthim, N. Stress and coping in caregivers of elderly in hospital. Suphan Buri
Province : Boromarajonani College of Nursing, Suphan Buri, 2010. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-11

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย