ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ตันติเอกรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อภิชัย คุณีพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
และโรคอ้วน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน อายุระหว่าง 10-12 ปี
กลุ่มละ 30 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ของนักเรียนประถมศึกษาที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักเกินและ
โรคอ้วน การบริโภคอาหารตามโซนสีไฟจราจร การอ่านฉลากโภชนาการ หลักการทำกิจกรรมทางกาย
และการสนับสนุนทางสังคมจากครู เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกาย ซึ่งเครื่องมือผ่านการตรวจสอบ
ความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน คำนวณค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) ได้เท่ากับ
1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรม
การทำกิจกรรมทางกาย เท่ากับ .88 .91 .84 และ .85 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Paired
Sample t–test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent Sample t–test
ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกาย ของกลุ่มทดลอง สูงกว่าก่อน
การทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า
โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
สามารถทำให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
พยาบาล และบุคลากรทางด้านสุขภาพ สามารถนำโปรแกรมไปใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมให้เด็ก
เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้

References

REFERENCES
1. World Health Organization. Childhood
Overweight and Obesity [online]. 2018
[cited 2018/4/3]. Available from: http://
www.Who.int/dietphysicalactivity/
childhood/en/
2. Offce of Strategy and Planning. Health
Data Center (HDC) Report System
[online]. 2018 [cited 2018/4/17].
Available from: http://www.rbpho.
moph.go.th/hdc.php. (in Thai)
3. Sirikulchayanonta, C. Obesity in Schoolaged Children from the Particle to the
Community. 2nd ed. Bangkok: Best
Graphic Press, 2015. (in Thai)
4. Manoopipatpong, R. Factors Related to
Over Nutrition of Elementary Students in
Lopburi Province. Thesis of Master
Degree in Science. Bangkok: Kasetsart
University, 2007. (in Thai)
5. Kulrin, N. Factors Affecting Over
Nutritional Status in 6th Grade Students
in Anuban Uttaradit School, Uttaradit
Province. Thesis of Master Degree in
Public Health. Chiangmai: Chiangmai
University, 2012. (in Thai)
6. Chaiyasung, P. Factors Predicting Food
Consumption Behaviors of Overweight
Elementary School Students, Grade
4-6. The Journal of Boromarajonani
College of Nursing, Nakhonratchasima,
2014; 20(1): 30-43. (in Thai)
7. Chaput, J., Brunet, M., & Tremblay, A.
Relationship Between Short Sleeping
Hours and Childhood Overweight/
Obesity: Results from the ‘Quebec en
For Me’ Project. International Journal
of Obesity, 2006; 30(7): 1080-1085.
8. Jaisuya. W. High Energy Food Intake
Behavior and Nutritional Status of
School Age Children in Mueang Chi
Sub-district, Mueang District, Lamphun
Province. Thesis of Master Degree in
Public Health. Chiangmai: Chiangmai
University, 2016. (in Thai)
9. Akapat, S. Relationships of Personal,
Family, and Community Factors
to Obesity in School Age Children,
Educational Service Area 2, Chon Buri
Province. Thesis of Master Degree in
Nursing Science. Chon Buri: Burapha
University, 2015. (in Thai)
10. Panyarattanachoj, J. Toonsiri, C., &
Rattanagreethakul, S. Factors Predicting
Preventive Behaviors for Overweight
Among Primary School Students in
Samut Songkhram Municipality Schools.
The Journal of Nursing Faculty, Burapha
University, 2017; 25(2): 43-56. (in Thai)
11. Pinsaimoon, S. Effects of Behavioral
Modifcation on Exercise and Appropriate
Food Consumption among Overweight
Primary School Students, Muang
District, Uttaradit Province. Thesis of
Master Degree in Public Health (Health
Education and Health Promotion).
Khon Kaen: Khon Kaen University,
2009. (in Thai)
12. Choojan, S., Thongbai, W., & Kummabut,
J. The Effects of Self-effcacy and
Family Support Promotion Program on
Consumption Behaviors among Late
School Aged Children with Overweight.
Journal of Boromarajonani College of
Nursing, Bangkok, 2016; 32(1): 31-43.
(in Thai)
13. Bandura, A. Self-effcacy: Toward a
Unifying Theory of Behavior Change.
Psychological Review, 1977; 84(2):
191-215.
14. House, J. Work Stress and Social
Support. CA: Addision Wesley, 1981.
15. Bureau of Nutrition, Department of
Health, Ministry of Public Health. Manual
to Using Height and Weight Criteria for
Assessing the Growth of Thai Children.
Bangkok: The War Veterans Organization
of Thailand, 1999. (in Thai)
16. Charoensittichai, P. An Application of
Health Belief Model, Group Process,
and Social Support to Promote Weight
Control among Overweight Children in
Primary School, Muang Chachoengsao.
Thesis of Master Degree in Community
Nursing. Chon Buri: Burapha University,
2005. (in Thai)
17. likert, R. The Method of Constructing
and Attitude Scale. New York: Wiley
& Son, 1967.
18. Best, J., W. Research in Education. 3rd
ed. New Jersey: Prentice Hall Inc, 1977.
19. Bureau of Nutrition, Department of
Health, Ministry of Public Health. Manual
to Smart Kids Coacher. Bangkok: Sam
Charoen Panich, 2016. (in Thai)
20. Sanprik, S. The Effects of Health Education
Program Applying Self-effcacy Theory
towards Weight Control among Grade
6 Students at kajonkietsuksa School,
Phuket Province. Journal of Community
Health Development, Khon Kaen
University, 2017; 5(2): 297-313. (in Thai)
21. Uttarachai, A. Effect of Health Promotion
Program on Food Consumption and
Exercise Behavior Modifcation by
Application of Motivation Theory
and Social Support for Overweight
Prevention among the 6th Grade
Students in Khon Kaen Municipality.
Thesis of Master Degree in Public
Health (Health Education and Health
Promotion). Khon Kaen: Khon Kaen
University, 2013. (in Thai)
22. Kongsoontornkitkul, A. Effects of Diet
and Exercise Program Based on Theory
of Reasoned Action to Prevent Obesity
of Overweight Elementary School
Students. Thesis of Master Degree
in Education (Health and Physical
Education). Bangkok: Chulalongkorn
University, 2014. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-03

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย