บทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณีต่อการดูแลผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตาย

Nurse Case Manager Role in caring for Brain - Dead Donor

ผู้แต่ง

  • พีระนันทิ์ จีระยิ่งมงคล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • ศรีวรรณ มีบุญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณี, การดูแล, ผู้บริจาคอวัยวะ, ภาวะสมองตาย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการแพทย์ ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลวระยะสุดท้ายได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะ ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การปลูกถ่ายอวัยวะจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากการบริจาคอวัยวะ ซึ่งมีกระบวนการที่ซับซ้อน ละเอียดอ่อน และเกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงจริยธรรม บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจกระบวนการบริจาคอวัยวะและบทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี โดยกระบวนการรบริจาคอวัยวะผู้เสียชีวิตสมองตายเริ่มจาก การขออนุญาตแพทย์เจ้าของไข้เพื่อขอดำเนินการ และขอความร่วมมือในการวินิจฉัยภาวะสมองตาย แจ้งเรื่องสมองตายแก่ญาติ การเจรจากับญาติเพื่อขอรับบริจาคอวัยวะ การเตรียมข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแบบตรวจสอบผู้บริจาค  (Donor Check List)   ติดตามผลเพื่อประเมินการทำงานของอวัยวะ   การดูแล

ผู้บริจาคอวัยวะเพื่อให้อวัยวะคงสภาพและอยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ การส่งตัวอย่างเลือด ต่อมน้ำเหลืองมายังศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เพื่อคัดกรองการติดเชื้อและตรวจหาชนิดของเนื้อเยื่อและดำเนินการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะออก การดูแลและอำนวยความสะดวกแกญาติในการรับร่าง เพื่อกลับไปประกอบพิธีทางศาสนา

          พยาบาลผู้จัดการรายกรณีต้องบริหารจัดการขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการบริจาคอวัยวะ เนื้อเยื่อ และการปลูกถ่ายอวัยวะ  การจัดการความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว ร่วมกับบุคลากรในทีมสหวิชาชีพภายใต้หลักกฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ พัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะและปลูกถ่ายอวัยวะ สร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการบริจาคอวัยวะสู่สาธารณชน

References

REFERENCES
1. Vareesangthip, K. Annual Organ Transplantation Report 2013. Bangkok: Krungthep Vejchasarn, 2014. (In Thai)
2. Organ Donation Center. Annual Report 2015 Thai Red Cross: Organ Donation Center. Bangkok: Thai Red Cross. 2017. (In Thai)
3. Sumethakul, V. et al. Determination of barriers to organ donation and transplantation in Thailand. 2nd ed. Bangkok: Krungthep Vejchasarn Publishing. (In Thai)
4. Onsuwan, D., Bunnak, S., Thassanasunthonvong, S., Dhitavat, V., and Kanchanabul, P. Key Success Factors of Deceased Organ Donation in Hospitals of Ministry of Public Health, Thailand. Journal of Health Sciences, 2015; 24(4): 779-792. (In Thai)
5. Neumsri, P., and Leelawong, S. Nursing service guideline: organ donation and organ transplantation. Nonthaburi: Nursing Division, Ministry of Public Health, 2017. (In Thai)
6. Medical Council. Regulations on the maintenance of ethics of the medical profession (No 7/2011) Date January 26: 2014. (In Thai)
7. Organ Donation Center, Thai Red Cross. Guide to caring for organ donors with brain death and coordinating organ transplantation. 2012. (In Thai)
8. Ricard Valero.Transplant coordination manual transplant procurement management.
(3th ed., pp. 181-210). TPM-DTI Foundation: Barcelona, Spain. 2014.
9. Weymann, A., Schmack, B., & Szabo, G. (2011). Pathopysiological consequences of brain death. Applied Cardiopulmonary Pathophysiology, 15, 184-190.
10. Valero, R., Hurtado, P., Charpentier, J., & Miret, J. I. S. (2014). Organ donor management. In R. Valero (Ed.), Transplant coordination manual (3th ed., pp. 181-210). TPM-DTI Foundation: Barcelona, Spain.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-15

ฉบับ

บท

Academic Articles; บทความวิชาการ