ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจต่อดัชนีมวลกาย รอบเอว ความดันโลหิต และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเมตาโบลิกของผู้ใหญ่ในชนบทไทย

ผู้แต่ง

  • ชมนาด วรรณพรศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
  • นิยม เล็กชูผล โรงพยาบาลบึงนาราง 400 หมู่ 2 ตำบลบึงนาราง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร

คำสำคัญ:

Empowerment, Body Mass Index, Wrist Circumference, Blood Pressure

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจต่อดัชนีมวลกาย รอบเอว ความดันโลหิต และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเมตาโบลิกของผู้ใหญ่ในชนบทไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ที่เสี่ยงต่อภาวะเมตาบอลิก ที่อาศัยในอำเภอบึงนาราง  จังหวัดพิจิตร จำนวน 80 คน จัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน โดยการจับคู่ตามเพศ ดัชนีมวลกาย รอบเอว และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเมตาโบลิก ที่ใกล้เคียง และทั้งสองกลุ่มอยู่คนละพื้นที่ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2558 เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการสร้างพลังอำนาจตามทฤษฎีของกิบสัน 4  ขั้นตอน คือ การค้นหาความจริง การพิจารณาและไตร่ตรองสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การสามารถเป็นผู้ดำเนินการ และเกิดความรู้สึกมั่นใจที่จะควบคุมสถานการณ์ 2) คู่มือการป้องกันภาวะเมตาโบลิกที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนวัยผู้ใหญ่ในชนบทไทย 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะเมตาโบลิก และ 4) เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว และ เครื่องวัดความดันโลหิต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบอิสระ

          ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้ดปรแกรมการสร้างพลังอำนาจในผู้ใหญ่ในชนบทไทย พบว่า กลุ่มทดลองมีดัชนีมวลกาย รอบเอว ความดันโลหิตซิสโตลิก ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และมีพฤติกรรมการป้องกันภาวะเมตาโบลิกสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)

 


The Effect of  Empowerment  Program  on Body Mass Index, Wrist Circumference, Blood Pressure and Prevention Behavioral of Metabolic Syndrome among Adult Living in
Thai Rural Area *

                       

 Abstract

          This quasi-experimental research  aimed to study the effect of  the empowerment  program  on  body mass index, wrist circumference, blood pressure and prevention behavioral of metabolic syndrome among adult living in Thai rural area.

Samples composed of eighty adults risk to metabolic syndrome who lived in Bueng Na Rang district, Phichit province. Samples were randomly assigned to experimental and control groups, 40 for each group. Additionally, samples in two groups were matched on  sex, body mass index, wrist circumference, blood pressure, prevention behavioral of metabolic syndrome and  living in different areas. Data were  collected  during January to April, 2015.  Research instruments were 1) the empowerment program guide by Gibson’s theory which consisted of 4 steps: discovering reality, critical  reflection, taking charge, and holding on, 2) the manual for metabolic syndrome prevention congruence with adult lifestyle in Thai rural area, 3)  prevention behavioral of metabolic syndrome questionnaire, and 4) weight scale, waist circumference tape, and sphygmomanometer.  Data were analyzed by  using  frequency, percentage, mean, standard deviation , and independent t-test.

            The results revealed that after receiving the empowerment program, participants in the experimental group had body mass index, wrist circumference,  systolic blood pressure, and mean arterial pressure lower than in the control group at p < . 05.  and had prevention behavioral of metabolic syndrome higher than in the control group at p < . 01.

 

Keywords:  Empowerment, Body Mass Index, Wrist Circumference, Blood Pressure

Author Biographies

ชมนาด วรรณพรศิริ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ 9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นิยม เล็กชูผล, โรงพยาบาลบึงนาราง 400 หมู่ 2 ตำบลบึงนาราง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบึงนาราง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-23

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย