เกี่ยวกับวารสาร

จริยธรรม

 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

  • พิจารณา คัดกรอง ตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์และสาขาของวารสารด้วยหลักการทางวิชาการและระเบียบวิธีวิจัย
  • เสนอแนะผู้นิพนธ์ให้ปรับบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดและตามระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้นก่อนส่งผู้ประเมินบทความ
  • พิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินบทความที่มาจากหลากหลายสาขาจำนวน 3 ท่านให้ตรงตามสาขาของเนื้อหาในบทความด้วยความเป็นธรรมและส่งบทความให้ผู้ประเมินบทความโดยผู้ประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind)
  • ตรวจสอบการแก้ไขบทความให้ตรงตามคำแนะนำของผู้ประเมินบทความ
  • เก็บรักษาความลับของข้อมูลเนื้อหาบทความของผู้นิพนธ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • การรับบทความเพื่อตีพิมพ์ บทความจะต้องได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์จากผู้ประเมินบทความอย่างน้อย 2 ใน 3 คนหรือตามการพิจารณาของกองบรรณาธิการ
  • เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้แก่ผู้อ่านอย่างต่อเนื่องตรงเวลา
  • แจ้งผลพิจารณา คัดกรอง ตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ด้วยหลักการทางวิชาการหรือตามระเบียบวิธีวิจัย ให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
  • จัดพิมพ์คำแนะนำการเขียน รูปแบบ ระเบียบการส่งบทความ ขั้นตอนการส่งบทความ แก่ผู้ผู้พิจารณาบทความผ่านเว็ปไซต์วารสาร
  • ให้คำแนะนำ ประสานระหว่างผู้นิพนธ์กับผู้พิจารณาบทความ กรณีมีข้อขัดแย้งทางวิชาการและข้อคิดเห็น

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

  • ส่งบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดพร้อมแนบใบรับรองจริยธรรมการวิจัย
  • บทความของผู้นิพนธ์จะถูกตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหา (Plagiarism) จากระบบ Thaijo ทั้งนี้หากร้อยละของความซ้ำซ้อนคัดลอกเกินร้อยละ 20 ผู้นิพนธ์จะต้องชี้แจงและแก้ไข
  • แก้ไขบทความตามคำแนะนำของบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด กรณีไม่แก้ไขในประเด็นที่เสนอแนะผู้นิพนธ์สามารถชี้แจงเหตุผลมายังวารสารได้
  • ผู้นิพนธ์จะต้องส่ง แก้ไขบทแก้ไขบทความผ่านระบบ Thaijo และส่งตรงตามเวลากำหนด
  • ผู้นิพนธ์จะต้องตรวจสอบบทความก่อนขึ้นระบบ Thaijo ทั้งนี้หากมีประเด็นผิดพลาดทางวารสารจะไม่ดำเนินการแก้ไขบทคความที่ขึ้นระบบ Thaijo แล้ว
  • บทความวิจัยจะต้องผ่านขั้นตอนจริยธรรมวิจัยหรือการพิทักษ์สิทธิจากหน่วยงาน
  • ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ส่งบทความไปยังวารสารอื่น ๆ ในขณะที่รอพิจารณาตีพิมพ์

 บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  • ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของบทความตามระเบียบวิธีการวิจัย หลักวิชาการเป็นสำคัญส่วนรูปแบบการตีพิมพ์และการพิสูจน์อักษรถือเป็นประเด็นรอง
  • ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยหรือแสดงตัวตนให้ผู้นิพนธ์ทราบชื่อ
  • ผู้พิจารณาบทความจะไม่เรียกร้องผลประโยชน์จากผู้นิพนธ์
  • ผู้พิจารณาบทความต้องประเมินบทความด้วยความยุติธรรมยึดหลักทางวิชาการเป็นสำคัญ
  • ผู้ประเมินบทความต้องไม่ประสานงานหรือติดต่อผู้นิพนธ์โดยตรง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรึกษากับผู้นิพนธ์จะต้องให้บรรณาธิการเป็นผู้ประสาน
  • ผลการพิจารณาบทความถือเป็นสิทธิ์ขาดของบรรณาธิการวารสาร