การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยตามแนวคิด การสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐานสำหรับวินิจฉัยพุทธิปัญญา ในกระบวนการพยาบาล

การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยตามแนวคิด การสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐานสำหรับวินิจฉัยพุทธิปัญญา ในกระบวนการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ศุภามณ จันทร์สกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริเดช สุชีวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โชติกา ภาษีผล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวินิจฉัย, การสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐาน, การวินิจฉัยพุทธิปัญญา, กระบวนการพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยเรื่อง “กระบวนการพยาบาล” ตามแนวคิดการสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐาน และตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย แบ่งการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนสำรวจกระบวนการคิดของนักศึกษาพยาบาล ขั้นตอนพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยตามแนวคิดการสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐาน และขั้นตอนตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย ตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 3 ที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ขนาดของตัวอย่างในขั้นตอนสำรวจกระบวนการคิดจำนวน 233 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบทดสอบอัตนัย และขนาดของตัวอย่างในขั้นตอนตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยจำนวน 305 คน  เครื่องมือวิจัยเป็นแบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาตามแนวคิดการสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐาน ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 6 เดือน  สถิติวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบพิจารณาจากค่าสถิติความเหมาะสมรายข้อ

ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) ผลการพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยตามแนวคิดการสร้างโมเดลภาวะสันนิษฐาน  ผู้วิจัยพัฒนาแผนที่ตัวแปรประกอบด้วย 3 ระดับแบ่งเป็น 5 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่มีความรู้สมบูรณ์และมั่นใจ (CUC) กลุ่มที่มีความรู้สมบูรณ์แต่ไม่มั่นใจ (CULC)  กลุ่มที่มีความรู้เพียงบางส่วน (IU) กลุ่มที่พร่องความรู้ (LK) และกลุ่มที่มีมโนทัศน์คลาดเคลื่อน (MC) รูปแบบข้อสอบเป็นปรนัยหลายตัวเลือกแบบเรียงอันดับให้คะแนน 3 ค่าคือ 0, 1, 2 คะแนน และโมเดลการวัดเป็นราสซ์โมเดลแบบการแบ่งเชิงจัดอันดับ 2) ผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบพบข้อสอบทุกข้อมีคุณภาพผ่านเกณฑ์โดยพบค่าสถิติความเหมาะสมรายข้อได้แก่ ค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนที่มีการถ่วงน้ำหนักอยู่ระหว่าง 0.91 ถึง 1.07 ค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนที่ไม่มีการถ่วงน้ำหนักอยู่ระหว่าง 0.840 ถึง 1.120 ค่าสถิติทีอยู่ระหว่าง -0.90 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.31 ถึง 0.66 ค่าความเที่ยงแบบ EAP และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่าของข้อสอบทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.6

References

REFERENCES
1. Harnyoot, O. Nursing Process and
Implications. Journal of The Royal Thai
Army Nurses [Online]. 2014 [Reach on
2016/11/21]; 15(3): 137-43. Accessed
from: https://www.tci-thaijo.org/index.
php/JRTAN/article/view/30350. (in Thai)
2. Potter, PA. & Perry, AG. Fundamental
of nursing. 6 Edition. St.Louis. Mosby;
2005.
3. Alfaro-LeFevre, R. Applying Nursing
Process: A Tool for Critical Thinking.
3 Edition. Philadelphia. J.B. Lippincott;
2006.
4. Rattanakanlaya, K., Leksawasdi, N.,
Nanasil, P., Janmahasathein, S., and
Anusasananun. Problems and barriers
amoung nursing students, Faculty of
nursing, Chiang Mai university when
implementing the nursing process in
surgical ward practice. Journal of Nursing
Science Chulalongkorn University, 2007;
19(1): 134-144. (in Thai)
5. Tepworachai, U. & Santwanpas, N.
Factors affecting academic achievement
of nursing students at boromrajajnani
college of nursing, praboromarajchnok
institute for health workforce, 2010.
(in Thai)
6. Wilson, M. Cognitive Diagnosis Using
Item Response Models. Journal of
Psychology, 2008; 216(2): 74-88.
7. Wilson, M. Constructing Measures: an
item response modeling approach.
Mahwah, N.J: Lawrence Erlbaum
Associates; 2005.
8. Draney, K. Designing learning progressions
with the BEAR assessment system. Paper
presented at the Learning Progressions
inn Science (LeaPS) conference. Iowa
City. IA. [Online]. 2009 [Reach on
2016/11/21]; Available from: http://
www.education.msu. edu/projects/
leaps/proceedings/Draney.pdf
9. Suksiri, W. Construct Mapping: An
Approach of Cognition Modeling in
Valid Assessment Systems. Journal of
Research and Curriculum Development,
2014; 4(1): 47-66. (in Thai)
10. Wilson, M. The ordered partition
model: An extension of the partial
credit model. Applied Psychological
Measurement, 1992; 16(4): 309-325.
11. Chianchana, C. Multidimensional
Analysis. Journal of Education Khon
Kaen University; 2009; 32(4): 13-22.
(in Thai)
12. Heesch, K.C., Masse, L.C. & Dunn, A.L.
Using rasch modeling to re-evaluate
three scales related to physical activity:
enjoyment, perceived benefts and
perceived barriers. Health education
research theory & practice, 2006;
21(1). 58-72.
13. Suksiri, W. & Worain, C, Investigating
Tentative Cutscores for Science
Learning Area on the Ordinary National
Educational Test Scores using the
Construct Mapping Method: An Analysis
for Further Judgments. Research report.
National Institute of Educational
Testing Service (Public Organization);
2016. (in Thai)
14. Wu, M., Adams, R., Wilson, M., and
Haldane, S. ACER ConQuest version 2.0:
Generalized item response modeling
software [Computer software and
manual]. Camberwell. ACER Press; 2007.
15. George, D. & Mallery, P. SPSS for
Windows step by step: A simple guide
and reference. 11.0 update. 4 Edition.
Boston, MA. Allyn & Bacon; 2003.
16. Kline, P. The handbook of psychological
testing. 2 Edition. London. Routledge;
2000.
17. Briggs, D.C., Alonzo, A.C., Schwab, C.
& Wilson, M. Diagnostic Assessment
With Ordered Multiple-Choice Items.
Education Assessment, 2006; 11(1),
33–63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-02

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย