การศึกษาเปรียบเทียบผลการแปลแบบทดสอบ Rorschach ระหว่างระบบ Klopfer และระบบ Rorschach Performance Assessment System (R-PAS)

Main Article Content

กุลวดี ทองไพบูลย์
บุรชัย อัศวทวีบุญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างผลการทดสอบที่ได้จาก
การแปลแบบทดสอบ Rorschach ด้วยระบบ Klopfer และระบบ R-PAS
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพศึกษาเฉพาะกรณี โดยการนำผลแบบทดสอบ Rorschach ของผู้ป่วย
ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคทางจิตเวชจำนวน 10 ราย มาแปลผลด้วยระบบ Klopfer และระบบ
R-PAS โดยการแปลผลระบบ Klopfer ได้ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative analysis) เท่านั้น ส่วนใน
ระบบ R-PAS นั้นใช้ interpretive guide ซี่งได้จากการประมวลคะแนนผ่านระบบออนไลน์ จากนั้นจึงนำข้อมูล
ที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างและความสัมพันธ์เพื่อหาแบบแผน (patterns) ใน 4 ด้านด้วยกัน คือ ด้าน
กระบวนการรู้คิด (cognitive processing) ด้านการรับรู้และการคิด (perception and thinking) ด้านความเครียด
และการรับมือกับปัญหา (stress and coping) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal relationship)
ผลการศึกษา ในด้านกระบวนการรู้คิด (cognitive processing) ทั้งสองระบบให้ข้อมูลเรื่องการนำเชาวน์ปัญญา
ที่มีไปใช้ แต่ในระบบ R-PAS ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องกระบวนการคิดและลักษณะการคิด ในด้านการรับรู้และ
การคิด (perception and thinking) ทั้งสองระบบให้ข้อมูลเรื่องการรับรู้ความเป็นจริงรวมถึงพยาธิสภาพทางจิต
แต่ระบบ R-PAS ใหข้ อ้ มลู เพิม่ เตมิ เรื่องคณุ ภาพของการรบั รแู้ ละการคดิ รวมถึงระดบั ความรุนแรงของพยาธสิ ภาพ
ทางจิต ในด้านความเครียดและการรับมือกับปัญหา (stress and coping) ทั้งสองระบบให้ข้อมูลเรื่องแนวโน้ม
ความเครียด ความวิตกกังวล และปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสถานการณ์ต่างๆ แต่ในระบบR-PAS ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง
ความเสี่ยงที่จะทำร้ายตนเอง ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal relationship) ระบบ Klopfer
เน้นเรื่องของบุคลิกภาพและพัฒนาการของบุคลิกภาพที่มีต่อความสัมพันธ์ ขณะที่ระบบ R-PAS เน้นเรื่องของ
ความสามารถในการทำความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
สรุป การแปลผลแบบทดสอบ Rorschach ด้วยระบบ R-PAS แตกต่างจากระบบ Klopfer โดยระบบ R-PAS
สามารถให้ข้อมูลทางคลินิกที่ลึกและกว้างมากขึ้นและมีเกณฑ์ในการตัดสินที่ค่อนข้างชัดเจนโดยเทียบกับคะแนน
มาตรฐานและเกณฑ์ปกติ จึงควรนำระบบ R-PAS มาทดลองใช้ในประเทศไทย เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์และ
ข้อจำกัดของระบบ R-PAS มากขึ้น

Article Details

บท
Original Articles

References

Skadeland DR. Bruno Klopfer: A Rorschach pioneer. J Pers Assess 1986; 50: 358-61.

Suwanaleart S. The Answer of Rorschach Inkblot Test in Thai Non-patient Sample. J Clin Psychol 1972; 3: 7-32.

Groth-Marnat G. Handbook of psychological assessment. 4thed. New York: John Wiley & Sons; 2003.

Exner JE. Jr, Erdberg P. The Rorschach: A comprehensive system Vol. 2: Advanced interpretation 3rd ed. Oxford: Wiley; 2005.

Meyer GJ, Viglione DJ, Mihura JL, Erard RE, Erdberg P. Rorschach Performance Assessment System: Administration, Coding, Interpretation, and Technical Manual. Rorschach Performance Assessment System. Toledo, OH; 2011.

Suwanaleart S. Scoring Manual of Rorschach Test. 5thed. Bangkok: Beyond Publishing; 2012.

Mihura JL, Meyer GJ, Dumitrascu N, Bombel G. The validity of individual Rorschach variables: Systematic reviews and meta-analyses of the Comprehensive System. Psychol Bull 2013; 139: 548-605. doi: 10.1037/ a0029406.

Meyer GJ, Hsiao WC, Viglione DJ, Mihura JL, Abraham LM. Rorschach Scores in applied clinical practice: A survey of perceived validity by experienced clinicians. J Pers Assess 2013; 95: 351-65. doi:10.1080/00223891.201 3.770399.