การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน: บทบาทพยาบาลจิตเวช THE DEVELOPMENT OF PSYCHIATRIC AND MENTAL HEALTH CARE SYSTEM IN THE COMMUNITY: ROLES OF PSYCHIATRIC NURSES

Main Article Content

วริยา จันทร์ขำ

บทคัดย่อ

Abstract


Objectives: To present the concepts, principles, and evidence based nursing practice
in developing psychiatric and mental health care system. Content included basic knowledge of psychiatric nursing, mental health assessment, health promotion, mental health rehabilitation, understanding the system of health policies of Department of Mental Health and health management in the specific characteristics of the area by using the performance of psychiatric nurses to manage the data, team works, develop social network in community, and evaluation so that the community can take care of people with mental health problems in the community. The networking systems for the relevant personnel and health care personnel are in place to facilitate the provision of mental health care in order that families and psychiatric patients can take care of themselves. Moreover, the local administrative organizations and stakeholders provide relevant resources and budget for the development of community mental health nursing system.
Conclusion: The psychiatric patients can stay longer in their community.The relapse rate and the burden of family care can be reduced, and well-being of individuals, families and
communities also will be increased. 

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอแนวคิด หลักการ และหลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตในชุมชน เนื้อหาประกอบด้วยพื้นฐานความรู้ความเชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตและจิตเวช การประเมินคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิต การส่งเสริมสุขภาพ การบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต ความเข้าใจในนโยบายกรมสุขภาพจิตด้านการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช และการจัดการสุขภาพตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่ โดยใช้สมรรถนะที่มีของพยาบาลจิตเวชในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน ในการจัดการข้อมูล สร้างทีม พัฒนาคน สร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชนและดำเนินการประเมินผลเพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ มีกระบวนการให้ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้ตามศักยภาพ ครอบครัวและผู้ป่วยจิตเวชสามารถดูแลตนเองได้ นอกจากนี้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาระบบการพยาบาลสุขภาพจิตชุมชน

สรุป: ผู้ป่วยจิตเวชสามารถอยู่ในชุมชนได้ยาวนานขึ้น ลดการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวช  ลดภาระการดูแลของครอบครัว รวมทั้งผู้ป่วยครอบครัวและชุมชน จะมีความผาสุกมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

วริยา จันทร์ขำ, อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม